ขาดทุนไม่อั้น ขอแค่ฉันได้เป็นเศรษฐี - บทที่ 643 เกมดิ้นรนคือแบบเรียนของผู้พัฒนาเกม
ขณะเดียวกัน เหออันเองก็เห็นโพสต์ของแอ็กเคานต์เว่ยป๋อออฟฟิเชียลของ ฝ่ายเกมเถิงต๋า
“แปลกจัง โพสต์นี้… หมายความว่าไงกัน
“ทางออฟฟิเชียลออกมาบอกเองว่าไม่มีตีม เป็นแค่กระจกสะท้อน?
“หา จะเป็นแบบนั้นได้ไง!
“พูดแบบนั้นอาจจะหลอกผู้เล่นทั่วไปหรือพวกอัปโหลดมาสเตอร์ได้ แต่หลอก มืออาชีพแบบฉันไม่ได้แน่นอน
“โพสต์นี้น่าจะสร้างปัญหาให้อัปโหลดมาสเตอร์หลายคนที่อยากตีความเกม ดิ้นรน
“ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะการตีความเกมนี้ต้องใช้ความรู้ในระดับที่เกินกว่า ขอบเขตของคนทั่วไป ต้องใช้ความรู้เรื่องการออกแบบเกมระดับมืออาชีพมากๆ มาอธิบายให้กระจ่าง!
“โพสต์นี้…เหมือนจะสร้างข้อจำกัดและการแบ่งแยกบางอย่าง
“การตีความทั้งหมดของเกมดิ้นรนแบ่งออกได้เป็นสองส่วน หนึ่งคือตีความ ประเด็นชีวิตจริงที่สะท้อนผ่านเกมดิ้นรน สองคือตีความความหมายที่แท้จริงของ ผู้พัฒนาเกมดิ้นรน
“โพสต์บนเว่ยป๋อเป็นการให้ผู้เล่นทุกคนร่วมตีความส่วนแรก มีแค่มืออาชีพ แบบฉันเท่านั้นที่จะตีความส่วนที่สองได้!” เหออันไม่พยายามทำความเข้าใจโพสต์ตามตัวอักษร เหตุผลก็ง่ายๆ เขาตระหนักถึงความจริงอันเรียบง่ายว่า ผู้สร้างผลงานทุกคน มักใส่ความคิดส่วนตัวลงไปในผลงาน ผลงานศิลป์ทั้งเกมและหนังสามารถ กลายเป็นกระจกได้ แต่ยังไงก็ต้องมีแนวคิดของผู้สร้างอยู่ในนั้น พูดอีกอย่างคือ ทุกผลงานหลังจากผ่านกระบวนการรังสรรค์ขึ้นมาเป็นงาน ศิลป์มักมีกลิ่นอายของผู้สร้างสรรค์ผลงาน แล้วแต่ว่าจะมากหรือจะน้อย มนุษย์มีความชอบเป็นของตัวเอง ไม่มีใครที่ไม่มีความลำเอียงเลย เป็นไปไม่ได้ที่ผลงานจะไม่มีแนวคิดของผู้สร้างอยู่ เพราะจะหมายความว่า ผู้สร้างคนนี้ไม่มีความคิดและผลงานก็จะไม่มีจิตวิญญาณ เกมดิ้นรนไม่ใช่ผลงานที่ไม่มีจิตวิญญาณ! ในเบื้องหน้า การเน้นย้ำในโพสต์บนเว่ยป๋อนั้นชัดเจนว่าขัดกับเนื้อหาจริงๆ ของเกมดิ้นรน
มีบางอย่างไม่ชอบมาพากล ถ้าการกระทำขัดกับสามัญสำนึก แสดงว่าต้องมีอะไรแอบซ่อนอยู่ เกมเมอร์ทั่วไปกับอัปโหลดมาสเตอร์ไม่น่าจะวิเคราะห์สิ่งที่ซ่อนอยู่ได้
มีแค่เหออันที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเกมมาหลายปีและขึ้นไปถึงจุดสูงสุดเรื่อง การสร้างเกมเท่านั้นที่จะสามารถวิเคราะห์ได้!
ก็เหมือนคำพูดที่ว่า ผู้เชี่ยวชาญชื่นชมคุณภาพงานศิลป์ ส่วนคนทั่วไปแค่สนุก กับการรับชม
ในมุมมองของเหออัน การตีความเกมของบอสเผยที่ผ่านมานั้นเป็นแค่ระดับ ‘สนุกกับการชม’ เพราะปริศนาที่บอสเผยวางไว้มักอยู่ในตัวเกมจริงๆ
แต่รอบนี้ ปริศนาของบอสเผยฝังลึกอยู่ในโครงสร้างของเกม อยู่ในการผนวก เกมเข้ากับความเป็นจริง และแม้แต่ในทฤษฎีพื้นฐานของเกม
ถ้าเป็นเกมเมอร์ทั่วไปก็จะไม่เข้าทฤษฎีพื้นฐานของการผลิตเกม แล้วจะ วิเคราะห์เกมได้ยังไง
เขาจึงรู้สึกสับสน
ก่อนหน้านี้เหออันคิดว่าเกมนี้ให้ความรู้สึกพิเศษกับเขา เห็นได้ชัดว่าถึงจะไม่ ทำตามทฤษฎีไหนในสี่ข้อเลย แต่เขาก็ไม่คิดว่าเกมนี้เป็นเกมที่ล้มเหลว
ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ
หลังไตร่ตรองเนื้อหาเกมอย่างละเอียดแล้วเอาไปเปรียบเทียบกับสี่ทฤษฎี พื้นฐาน เหออันก็พบปัญหา
บอสเผยตั้งใจแหกทฤษฎีพื้นฐานทั้งสี่ข้อแล้วผงาดขึ้นมาจากความตาย เขาใช้ มันสมองระดับสุดยอดพลิกผิดให้เป็นถูก!
ถึงจะดูเหมือนเป็นการแหกทฤษฎีสี่ข้อ แต่จริงๆ แล้วเป็นการก้าวไปในขั้นที่ สูงกว่าของทฤษฎีทั้งสี่ ข้ามขั้นจากมองภูเขาเป็นภูเขา ไปเป็นมองภูเขาไม่เป็นภูเขา แล้วก็มองเป็น ภูเขาอีกครั้ง หลังจากวิเคราะห์ดู เหออันก็รู้สึกว่าเนื้อหาเหล่านี้เหมาะเอาไปสอนบอสหม่า เพราะทฤษฎีทั้งสี่เป็นบทสรุปประสบการณ์ของผู้พัฒนาเกมทั่วไป แต่บอสเผย เป็นคนแรกที่ทำลายแบบแผนทั้งสี่รวดเดียว! เหออันรู้สึกว่าเนื้อหาดีๆ แบบนี้เอาไปสอนแค่บอสหม่าก็น่าเสียดาย เนื้อหานี้ควรค่าแก่การทำเป็นแบบเรียนสำหรับผู้พัฒนาเกมทุกราย เพื่อที่ ผู้พัฒนาเกมในจีนจะได้พัฒนาไปด้วยกัน! พอคิดแบบนี้ บอสเผยก็น่าจะมีความคิดเบื้องลึกในการทำเกมนี้ขึ้นมา เพราะงั้นเหออันจึงตัดสินใจว่าจะอธิบายเนื้อหานี้อย่างละเอียด แล้วเอาลง อินเทอร์เน็ตเพื่อให้เป็นแบบเรียนกับผู้พัฒนาเกมทุกคน! แน่นอนว่าทำแบบนี้คงไม่ดีกับบอสหม่า เพราะบอสหม่าจ่ายเงินเรียน แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะเขาคืนเงินให้บอสหม่าได้! คืนเงินให้บอสหม่าหนึ่งคลาส ส่วนบอสหม่าก็ได้ความรู้ เขาไม่คิดมากกับเรื่อง นี้เลย
เพราะยังไงที่เหออันมาสอนก็ไม่ได้เป็นเพราะเงินแค่เล็กน้อยอยู่แล้ว
เหออันเริ่มเตรียมการวิเคราะห์เกมดิ้นรน
พูดให้ถูกคือ ทฤษฎีการออกแบบเกมซึ่งล้มล้างทฤษฎีเดิมที่บอสเผยสื่อสาร ผ่านเกมดิ้นรน
นอกจากนี้ ทฤษฎีเกมนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการพลิกทฤษฎีเกมทั้งหมดที่เหอ อันเคยพูดไปก่อนหน้านี้ ดูแล้วเหมือนจะก้าวข้ามทฤษฎีที่ผ่านๆ มาไปสู่อีกขั้น แต่ ก็ยังสอดคล้องกับทฤษฎีพื้นฐานอยู่
ชื่อบทความคือ ‘เกมดิ้นรนพลิกและก้าวข้ามทุกทฤษฎีการออกแบบดั้งเดิม’
ในช่วงต้นของบทความ เหออันไม่ได้แนะนำตัวเอง เพราะเขามีแอ็กเคานต์เว่ ยป๋อซึ่งมียอดผู้ติดตามสูง ในวงการเกมจีน แทบไม่มีผู้พัฒนาเกมคนไหนไม่รู้จักเขา
เขาจึงไม่จำเป็นต้องแนะนำตัวเอง แค่เขียนเนื้อหา ยังไงก็มีผู้คนมากมายมา อ่านและช่วยแชร์ออกไป
…
“ผมได้รับบทเรียนที่ไม่คาดคิดจากการเล่นเกมดิ้นรน ซึ่งผมอยากแชร์กับทุก คน
“เกมดิ้นรนล้มล้างทฤษฎีการออกแบบเกมดั้งเดิมและผลักดันทฤษฎีไปสู่ขั้น ใหม่ พูดให้ถูกคือ จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เกมสำหรับเกมเมอร์ แต่เป็นเหมือน แบบเรียนสำหรับผู้พัฒนาเกมทุกคน
“มีแค่ผู้พัฒนาเกมที่เข้าใจทฤษฎีพื้นฐานเรื่องการทำเกมเท่านั้นที่จะเข้าใจ แบบเรียนนี้ เพราะงั้นจึงไม่แปลกที่ผู้เล่นทั่วไปจะไม่สามารถมองทะลุหรือทำความ เข้าใจได้ เพราะผู้เล่นทั่วไปไม่มีความรู้ทางทฤษฎีเพียงพอ
“ต่อไปผมจะวิเคราะห์จากมุมมองผู้พัฒนาเกมว่าทำไมเกมนี้จึงสมควรนับว่า เป็นแบบเรียนสำหรับผู้พัฒนาเกมทุกราย
“อันดับแรก เรามาเริ่มกันที่โพสต์จากแอ็กเคานต์เว่ยป๋อออฟฟิเชียล
“ทางออฟฟิเชียลออกมาบอกว่า เกมดิ้นรนคือกระจกที่ไม่มีแนวคิดชัดเจน หลายคนคิดว่าเกมดิ้นรนไม่ได้สื่อสารแนวคิดอะไรจริงๆ และการวิเคราะห์แนวคิด ที่แฝงอยู่นั้นคือการตีความเกินจริง
“ชัดเจนว่าเป็นความคิดที่ผิด!
“งานศิลป์และวรรณกรรมทุกชิ้นบนโลกใบนี้รังสรรค์ขึ้นโดยผู้คน ไม่ว่าจะมาก หรือจะน้อย ยังไงผลงานเหล่านี้ก็มีการสื่อสารแนวคิดเสมอ ไม่งั้นก็สร้างเป็น ผลงานขึ้นมาไม่ได้
“สมมติว่าคุณอยากเขียนนิยายขึ้นมาสักเรื่อง คุณกำลังเขียนให้ตัวเอกต้อง เลือกอะไรบางอย่าง หลักของคุณคืออะไร สัญชาตญาณทางอารมณ์อันเรียบง่าย ความต้องการของผู้อ่าน หรือแนวคิดโดยรวม
“ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณไม่สามารถสร้างผลงานออกมาโดยไร้จุดมุ่งหมายได้ เวลาเขียนพล็อตขึ้นมา คุณจะถ่ายทอดความคิดของตัวเองลงในผลงานโดยไม่รู้ตัว เสมอ
“ดังนั้นทางออฟฟิเชียลจึงบอกว่าเกมดิ้นรนคือกระจกสะท้อนชีวิต และทุกคน ได้รับเนื้อหาแตกต่างกันจากเกมนี้ ทางออฟฟิเชียลไม่อยากบังคับให้ทุกคนยอมรับ ค่านิยมบางอย่าง
“แต่ในเมื่อเป็นวรรณกรรมและผลงานศิลป์ เกมดิ้นรนย่อมต้องมีแนวคิด บางอย่างจากผู้สร้างแน่นอน ติดอยู่คำถามเดียวคือ แล้วมันคืออะไรล่ะ
“และนี่ก็เป็นกุญแจสำคัญของเกมดิ้นรนที่ทำลายทฤษฎีการออกแบบเกม ดั้งเดิมทิ้งไป
“เกมนี้ล้มล้างทฤษฎีพื้นฐานของการสร้างเกมอย่างน้อยสี่ทฤษฎี
“วิธีการโปรโมตที่ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาของเกม
“เลือกแนวเกมที่ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่เป็นที่นิยม และไม่น่าชื่นชม
“เนื้อหาเกมนั้นเกินความสามารถในการยอมรับของผู้เล่นส่วนใหญ่ ทำให้รู้สึก อึดอัดโดยไม่รู้ตัว
“ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เล่นส่วนใหญ่ และไม่ตอบโจทย์เรื่องความ บันเทิงและการผ่อนคลายอารมณ์
“เนื้อหาเหล่านี้เกี่ยวโยงกับทฤษฎีพื้นฐาน ใครอยากอธิบายรายละเอียดก็เชิญ ได้เลย ผมจะไม่พูดซ้ำในโพสต์นี้
“ถ้าเกมทั่วไปไม่ทำตามสี่ทฤษฎีพื้นฐานก็จะออกมาเป็นขยะที่ไม่มีใครชอบ
“แต่หลายคน รวมถึงผม ไม่คิดว่าเกมดิ้นรนเป็นเกมที่ล้มเหลว
“ในเมื่อทั้งสี่ทฤษฎีเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ ก็เป็นไปไม่ได้ที่บอสเผยซึ่งเป็น ผู้พัฒนาเกมมือทองจะไม่รู้
“ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีเหตุผลที่เชื่อว่าบอสเผยจงใจให้ออกมาเป็นแบบนี้ เขาใช้ วิธีแพรวพราวนี้เพื่อทำลายทฤษฎีพื้นฐานทั้งหมดและผสานรวมทฤษฎีทั้งหมดสู่ ขั้นที่เหนือกว่า!
“ผมจึงบอกได้ว่าเกมดิ้นรนนับเป็นแบบเรียนสำหรับผู้พัฒนาเกมทุกคน เพราะผู้พัฒนาเกมทุกคนสามารถเรียนรู้จากเกมนี้ได้
“แล้วบอสเผยผนวกรวมทฤษฎีทั้งหมดไปสู่ขั้นต่อไปได้ยังไง
“เทคนิคนี้เคยใช้มาแล้วในเกมกลับใจคือฟากฝั่ง ซึ่งเป็นเกมที่ทลายกำแพงที่สี่ ลง!
“เพียงแค่ว่าในเกมกลับใจคือฟากฝั่ง เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ให้เห็นชัดเจนมากๆ ผู้เล่นที่มีความเข้าใจในระดับดีย่อมสัมผัสได้หลังพิจารณาอย่างละเอียด
“รอบนี้เทคนิคนี้ผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเกมและแนวคิดการ ออกแบบเกมที่แฝงอยู่ ทำให้มีแต่คนที่เข้าใจเรื่องทฤษฎีการออกแบบเกมเบื้องต้น เท่านั้นที่เข้าใจได้
“เทคนิคการทำลายกำแพงที่สี่นี้พัฒนาขึ้นมาก
“อันดับแรกเลยคือ วิธีการโปรโมตเกมเป็นการทำลายกำแพงที่สี่ จำแคมเปญ โฆษณาชวนเชื่อของเกมดิ้นรนได้รึเปล่า
“จริงๆ แล้วบอสเผยกำลังบอกใบ้ความจริงผ่านแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อว่า บางครั้งการหลอกลวงผู้คนก็ไม่จำเป็นต้องโกหก การบอกความจริงแค่บางส่วน หลอกคนได้ผลลัพธ์ดีกว่าด้วยซ้ำ!
“บอสเผยบอกความจริงแค่ส่วนเดียวตอนโปรโมตเกมดิ้นรน มองผิวเผินแต่ละ ข้อมูลดูเหมือนจะเป็นความจริง แต่พอนำมารวมกันแล้วกลับเปลี่ยนเป็นหนังคน ละม้วน
“ในเกม ตัวเอกคนรวยย้ำเรื่องการดิ้นรน แต่จริงๆ พูดความจริงแค่ส่วนเดียว ตัวเขาเองอาจจะไม่ได้ตระหนักเรื่องนี้อย่างชัดเจน ความสำเร็จของเขามาจากการ ดิ้นรนของตัวเองจริงๆ แต่ถ้าไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจากพ่อและทรัพยากรที่ ล้นเหลือ เขาจะประสบความสำเร็จได้แบบนั้นมั้ย ก็ชัดเจนว่าไม่
“ดังนั้นผู้เล่นจึงคิดว่าบอสเผยเป็นพวกหลอกลวง คนจนที่ฆ่าตัวเอกคนรวย เองก็คิดว่าตัวเอกคนรวยเป็นคนโกหก
“ถ้าคุณเข้าใจเรื่องนี้ ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนจนถึงพูดว่า ‘ไอ้คนโกหก’ ตอนจบ ถ้ามองแค่ผิวเผิน ทุกอย่างที่ตัวเอกคนรวยพูดเกี่ยวกับการดิ้นรนย่อมเป็น ความจริง เพราะมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขา
“แต่ก็เป็นความจริงแค่ส่วนเดียว ทำให้พลังในการชี้นำคนไปในทางที่ผิดทวี ความน่ากลัวขึ้น เป็นเหตุให้คนจนที่ฆ่าตัวเอกโกรธจัดขนาดนั้น
“อย่างที่สอง การสื่อสารของเกมก็ทำลายกำแพงที่สี่ด้วยเหมือนกัน
“เกมนี้สร้างขึ้นโดยอ้างอิงจากสภาพสังคมจริงๆ ของอเมริกา รายละเอียด ชีวิตคนจนและคนรวยถูกนำเสนอตามความเป็นจริง จึงเป็นธรรมดาที่การเล่นเกม จะมีความเชื่อมโยงกับความเป็นจริงอย่างใกล้ชิด
“เราจะคิดว่าตัวเอกคนจนหรือคนรวยเป็นเหมือนคนที่มีชีวิตอยู่ในความเป็น จริง ซึ่งก็สมเหตุสมผลมากๆ ที่จะมีเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้น
“รายละเอียดมากมายที่ใส่เข้ามาในเกมทำให้ทุกคนเห็นเงาของความเป็นจริง และสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาจากเกม ดังนั้นเนื้อหาของเกมจึงผสานเข้ากับความ เป็นจริงสุดๆ
“ในเรื่องราวแต่ละเรื่อง แต่ละคนจะตีความแตกต่างกันออกไป
“สุดท้ายแล้ว เนื้อหาที่ผู้พัฒนาเกมต้องการจะสื่อสารก็ซ่อนอยู่ในเกม เหมือนกัน ถ้าคุณหาพบ คุณจะเข้าใจ และเป็นการทำลายกำแพงที่สี่ด้วย!
“มีกี่คนที่สังเกตเห็นโลโก้แบรนด์หรูที่ปรากฏตลอดทั้งเกม
“มีกี่คนสังเกตเห็นว่าโอกาสที่ตัวเอกคนจนจะเปลี่ยนชะตาชีวิตตัวเองนั้นมีอยู่ ในชีวิตจริง แต่ในเกม โอกาสเหล่านั้นกลับถูกลิดรอนไปหมด”