ขาดทุนไม่อั้น ขอแค่ฉันได้เป็นเศรษฐี - บทที่ 644 จุดสูงสุดของศิลปะเกมแสตนด์อโลนในประเทศ (1)
- Home
- ขาดทุนไม่อั้น ขอแค่ฉันได้เป็นเศรษฐี
- บทที่ 644 จุดสูงสุดของศิลปะเกมแสตนด์อโลนในประเทศ (1)
“ถ้างั้นจริงๆ แล้วผู้พัฒนาเกมต้องการจะสื่อสารอะไร
“ความจริงแล้วแยกได้ง่ายมาก
“ปัญหาในชีวิตจริงที่สะท้อนให้เห็นในเกมซึ่งคือเนื้อหาที่ทางออฟฟิเชียลรว บรวมผ่านกิจกรรมที่โพสต์บนเว่ยป๋อ เนื้อหาเหล่านี้คือกระจก เป็นการนำ องค์ประกอบชีวิตจริงมาทำใหม่ เพื่อที่ทุกคนจะเห็นถึงชีวิตจริงผ่านเกม
“แต่ถ้าสะท้อนความเป็นจริงทุกอย่าง ก็ชัดเจนว่าสารคดีถือเป็นตัวเลือกที่ ดีกว่าในการนำมาใช้เป็นสื่อกลางนำเสนอเนื้อหาให้ทุกคนอย่างไม่ลำเอียง
“ดิ้นรนเป็นเกม ที่เลือกรูปแบบนี้เพราะผู้พัฒนาอยากผสานเนื้อหาที่อยาก สื่อสารผ่านกลไกเกม!
“ดังนั้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบเข้ากับกลไกของเกมคือจุดประสงค์ที่แท้จริงที่ ผู้พัฒนาเกมต้องการจะสื่อสาร!
“ต่อไปคือชุดคำถามกับคำตอบ คำถามเหล่านี้คือความไม่สมเหตุสมผลที่ ผู้พัฒนาทิ้งไว้ในเกม ด้วยความไม่สมเหตุสมผลนี้แหละที่ทำให้มันเป็นปริศนา
“ทุกคนลองนึกถึงความหมายเบื้องหลังดูได้
“[1] ทำไมเกมนี้ถึงแบ่งขายเป็นเวอร์ชันคนจนกับเวอร์ชันคนรวย ตั้งราคา แยกกัน และบังคับว่าถ้าซื้อคู่กันจะไม่ได้ส่วนลด
“ส่วนหนึ่งก็เพราะการวางราคาเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง เช่น เป็นการเน้นย้ำว่า ชีวิตไม่มีโอกาสที่สอง เราเลือกเกมได้ แต่เราเลือกชีวิตตัวเองไม่ได้ อีกส่วนคือการ ที่คนจนถูกสนับสนุนให้ซื้อเวอร์ชันคนรวย ผู้พัฒนาสนับสนุนให้คนจนซื้อเวอร์ชัน คนรวยเพื่อที่จะสับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของกันและกันอย่างแท้จริง
“ในเกม สภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตของคนจนกับคนรวยแตกต่างกันมาก ขนาดที่ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจกัน
“ตัวเอกคนรวยถามว่า ทำไมคนจนถึงไม่มีเวลาอยู่กับลูก พวกเขาจะยุ่งไปกว่า ประธานบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ยังไง
“ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะตัวเอกคนรวยไม่เคยเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในชีวิตของคน จน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าใจว่าคนจนที่อยู่ชนชั้นล่างสุดไม่สามารถจัดสรร เวลาของตัวเองได้
“ตัวเอกคนจนเชื่อว่า ขอแค่ดิ้นรนสู้ก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้น และถ้าเรียนรู้จากคน เก่งๆ เปลี่ยนวิธีคิดแบบคนจนทิ้งไป ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองได้
“เพราะคนจนเห็นแค่ความเพียรพยายามของคนรวย แต่มักมองข้ามข้อ ได้เปรียบเรื่องทรัพยากรที่มากเกินพอดีของคนรวย คนรวยหลายคนชอบสอนคน อื่นว่า ‘ความมั่งคั่งเหนือการทำงานหนักคือศูนย์’ และตัวเองเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว จากศูนย์ ซึ่งคนจนก็เชื่อ แล้วทำไมถึงเชื่อล่ะ ก็เพราะคนจนไม่รู้ว่าคนรวยมีเส้น สาย มีวิธีคิด มีการศึกษา และอะไรอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนชีวิตบ้าง
“ฆาตกรคิดว่าคนรวยเป็นคนลวงโลก เพราะตอนแรกเขาเชื่อมั่นในตัวคนรวย แล้วมาตระหนักทีหลังว่าคนรวยพูดความจริงแค่ส่วนเดียว
“เพราะงั้นกลยุทธ์การวางราคาแบบนี้จึงเป็นการส่งเสริมให้คนจนและคนรวย สัมผัสประสบการณ์ชีวิตของอีกฝ่ายในเกม ก้าวออกจากจุดบอดทางความคิด และ มองประเด็นนี้จากมุมมองที่กว้างขึ้น
“วิธีนี้คือการทำลายกำแพงที่สี่และใช้การตัดสินใจในชีวิตมากำหนด ประสบการณ์การเล่นเกม ซึ่งจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยการสื่อสารศิลปะนี้ในเกม
“[2] ทำไมถึงใช้ชื่ออังกฤษว่า Struggle
“เหตุผลก็เพราะความล้ำลึกของภาษา ถ้าจะสื่อความหมายแค่ ‘ต่อสู้’ ใช้ว่า fight กับ strive ก็ย่อมเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะสองคนนี้มีความหมายเชิงบวก และตรงกับความหมายที่ต้องการจะสื่อ
“แต่คำว่า struggle ไม่ได้หมายความแค่การต่อสู้ แต่ยังรวมถึงการดิ้นรนด้วย พอเอามารวมกับฉากหลังเรื่องราวภาษาอังกฤษแล้วก็จะเจอมุกจิกกัดได้ง่ายซึ่งก็ คือ คนรวยต่อสู้ ส่วนคนจนดิ้นรน
“หลังจากเข้าใจความหมายแล้วกลับมามองคำแปลจีนของคำว่าดิ้นรน ก็จะ ได้การเสียดสีเพิ่มอีกขั้น คุณน่าจะรู้ว่าถึงจะดิ้นรนเหมือนกัน แต่การดิ้นรนของคน รวยกับคนจนนั้นแทบไม่เหมือนกันเลย
“คนรวยเหมือนดิ้นรนอยู่บนสวรรค์ ถ้าอยากไปให้สูงขึ้นก็ต้องสู้ ถ้าไม่อยากสู้ ก็นอนกลิ้งไปมาได้ แต่ไม่ว่าจะดิ้นรนยังไง พวกเขาก็ยังอยู่บนหมู่เมฆอยู่ดี
“แต่การดิ้นรนของคนจนเหมือนอยู่ในตม การพยายามอย่างเต็มที่มีเพื่อ ป้องกันไม่ให้ตัวเองจมลงไปลึกกว่านี้ ถ้าหยุดดิ้นรนเมื่อไหร่ก็จะจมหายลงไป
“[3] ทำไมตัวละครในเกมถึงขาดเอกลักษณ์
“ตอนเล่นเกม ทุกคนจะพบว่าคนรวยหน้าตาดีมีเสน่ห์ ส่วนคนจนก็ตรงตาม ภาพจำของคนทั่วไป
“สไตล์ในเกมเน้นให้สีหน้าท่าทาง การแสดงออก และรูปลักษณ์แต่ละตัว ละครออกมาเวอร์วัง เพื่อที่จะได้ดูไม่เหมือนคนจริงๆ
“เห็นได้ชัดว่าไม่ตรงกับตีมของเกม เพราะตีมชีวิตจริงต้องการเน้นย้ำ ความรู้สึกสมจริง จึงต้องทำออกมาให้เหมือนจริงที่สุด การทำสีหน้าท่าทางออกมา โอเวอร์เกินไปจะลดความรู้สึกสมจริงลง
“ในแง่หนึ่งก็เพื่อลดความอึดอัดใจให้ผู้เล่น อีกแง่ก็เพื่อไม่ให้ผู้เล่นอินกัน มุมมองตัวละคร แต่ให้มองประเด็นที่นำเสนอในแง่มุมที่สูงขึ้น ไม่เอาใจไปยึดติด
“สีหน้าของตัวละครทำออกมาเคร่งเครียดจริงจัง เป็นการบอกว่าเนื้อเรื่องเกม ดิ้นรนนั้นอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวที่ตึงเครียด
“ในเกม ใบหน้าแต่ละแบบเป็นตัวแทนคนแต่ละประเภท และเกมก็ใช้ชีวิต ของตัวเอกคนรวยและคนจนสะท้อนชีวิตคนรวยและคนจนทุกคน
“เรื่องการโปรโมตก็เหมือนกัน ชัดเจนว่าเป็นการสื่อสารโดยนัยที่เต็มไปด้วย การแสดงออกเชิงสัญญะ
“[4] ทำไมเกมถึงมีตอนจบแค่แบบเดียวและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
“ไม่ว่าจะเลือกทางไหน ยังไงคนรวยก็โดนฆ่า ส่วนคนจนก็จะตกสู่วงจร อุบาทว์แห่งความจน
“ตอนแรก ผมคิดว่าเป็นแนวคิดแบบยอมจำนนต่อโชคชะตา สื่อว่าไม่ว่าจะ พยายามหนักขนาดไหนก็ไม่มีทางเปลี่ยนชะตาชีวิตของตัวเองได้
“แต่ไม่นานผมก็ตระหนักว่าตัวเองคิดผิดมหันต์
“เหตุผลก็เรียบง่ายมาก เพราะบอสเผยที่เป็นผู้พัฒนาเกมนี้ไม่ใช่คนที่เชื่อเรื่อง การยอมจำนนต่อโชคชะตา!
“ผมไม่เคยเจอบอสเผย แต่คนวงในรู้ว่าบอสเผยแตกต่างจากตัวเอกคนรวยใน เกม เพราะบอสเผยเริ่มจากศูนย์จริงๆ!
“จากเกมโดดเดี่ยวเดียวดายกลางทะเลทรายสู่เกมที่ประสบความสำเร็จ และ อุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จ เราเห็นเถิงต๋าผงาดขึ้นมาในช่วงสองปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะค้นขนาดไหนก็ไม่พบข้อมูลเรื่องการแทรกแซงด้านเงินทุนเลย ข้อมูลทุก อย่างชี้ว่าบอสเผยเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางทั่วไปที่ค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นไปทีละขั้น
“บอสคือคนที่พลิกชีวิตกลับด้านได้ด้วยตัวเอง คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้ถ้าเขา ยอมจำนนต่อโชคชะตา
“เหมือนเด็กเรียนสอบได้เต็มร้อยทุกครั้งมาบอกคุณว่าอ่านหนังสือทุกวันไม่ได้ ประโยชน์อะไร คุณจะเชื่อมั้ยล่ะ
“ถ้าคิดดูสักหน่อย จะรู้ว่ามุมมองนี้ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักเหตุผล!
“แล้วทำไมเกมถึงมีแค่ตอนจบเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ล่ะ
“อย่างที่ผมเคยบอกไป เกมใช้ชีวิตของตัวเอกคนจนและตัวเอกคนรวยมา สะท้อนถึงชีวิตของคนรวยและคนจนทุกคน
“ชีวิตทุกคนแตกต่างกัน ความแตกต่างระหว่างคนชนชั้นใกล้เคียงกันก็กว้าง มาก ถ้าทำตอนจบมาหลายแบบ ก็จะทำให้แนวที่เกมต้องการสื่อสารอ่อนลง
“ถ้าไม่จำกัดฉากจบ ก็จะไม่สามารถทำให้ตอนเริ่มและตอนจบสะท้อนถึงกัน ได้
“เกมบังคับให้เวอร์ชันคนรวยและเวอร์ชันคนจนจบได้เพียงแบบเดียว
“อันดับแรก เหมือนเรื่องราวและหนังส่วนใหญ่ ฉากจบแบบเดียวช่วยยืนยัน ความสมบูรณ์ของเรื่องราวทั้งหมด และช่วยเปิดให้ผู้สร้างสื่อสารแนวคิดออกไปได้
“ตัวเอกคนรวยจิตใจดีจบอย่างน่าอนาถ ตัวเอกคนจนจิตดีก็จบอย่างน่าอนาถ เหมือนกัน เรื่องราวจะตึงเครียดขึ้น ถ้าใช้ตอนจบแบบแฮปปี้ ความตึงเครียดของ เรื่องก็จะลดลง แนวคิดที่ผู้สร้างต้องการสื่อสารก็จะเป๋ไป
“สอง นี่คือแนวคิดการยอมจำนนต่อโชคชะตาในขั้นที่สูงขึ้น โดยไม่ได้เน้นย้ำ ว่าคนเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาได้ แต่เน้นย้ำว่าในสภาพแวดล้อมของ สังคม ตัวเลือกบางอย่างแค่เพียงตัวเลือกเดียวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทั้งชนชั้นได้
“เป็นไปได้ที่คนรวยจะตายหรือได้ดื่มด่ำกับชีวิตวัยชรา ส่วนใหญ่แล้วก็มักได้ ดื่มด่ำกับชีวิตวัยชรา แต่ความเกลียดชังระหว่างชนชั้นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ความเกลียด ชังที่คนจนมีต่อคนรวยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น ‘การฆ่าคนรวย’ จึงเป็น เรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความแตกต่างมีแค่ ‘ใครเป็นคนฆ่าคนรวย’ กับ ‘คนรวยคน ไหนถูกฆ่า’
“คนจนอาจตอบโต้กลับและรวยขึ้นมา หรืออาจล้มละลายกลายเป็นขอทาน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนรวยกับคนจนก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างในเกม
ถ้าคนจนโดนคนรวยฉกฉวยโอกาสด้วยวิธีการต่างๆ คนจนก็จะจนไปตลอด ถึงจะ มีข้อยกเว้นเป็นบางราย แต่ถ้ามองทั้งกลุ่มก้อน ก็ยิ่งกลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก หนักขึ้นเรื่อยๆ
“ดังนั้นเกมจึงจงใจให้มีแค่ตอนจบเดียว ปล่อยให้เราเปิดเส้นเรื่องใหม่ในเกม ซ้ำไปมา เลือกตัวเลือกที่ต่างออกไป หาพล็อตที่ซ่อนอยู่ทั้งสองเวอร์ชัน… แต่ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
“ทำไมเราถึงเปลี่ยนตอนจบไม่ได้ เพราะระบบเกมจำกัดไว้
“ขยายความขึ้นอีกคือ ตัวเอกคนจนในเกมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตผ่าน การดิ้นรนได้ เพราะระบบเกมของสังคมทั้งหมดจำกัดเขาไว้
“จุดนี้ กำแพงที่สี่ของเกมได้ทลายลงอีกครั้ง ภายใต้กฎของเกมที่ว่า ไม่ว่าจะ พยายามหนักขนาดไหนก็ไม่มีวันเป็นผู้ชนะที่แท้จริง
“[5] มีแบรนด์หนึ่งที่ปรากฏซ้ำไปมาในเกม เรื่องนี้สื่อถึงอะไร
“หลายคนน่าจะเห็นแบรนด์หรูที่มีโลโก้ ‘LL’ สีทอง เป็นแบรนด์เดียวที่ ปรากฏตลอดทั้งเกม ซึ่งพ่อของตัวเอกคนรวยเป็นเจ้าของก่อนจะส่งต่อให้ลูก แบ รนด์นี้ไปปรากฏอยู่กับหลายตัวละคร
“จากมุมมองของเกม ความทรงจำของผู้เล่นนั้นมีจำกัดมาก อาจสับสนได้ถ้ามี สองแบรนด์ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือใช้แบรนด์เดียวเพื่อสื่อถึงของหรูไปเลย ของที่ไม่ มีโลโก้คือของธรรมดา นี่คือแนวคิดพื้นฐานเรื่องการออกแบบเกมที่ชื่อ หลักใบมีด โกนของออคแคม ซึ่งใช้สื่อสารบางสิ่งบางอย่างออกไปได้แม่นยำที่สุด
“แต่การสื่อสารนี้ก็ผสานองค์ประกอบทั้งหมดในเกมเข้าด้วยกันได้อย่างน่า อัศจรรย์ ไม่ใช่แค่มีไว้ประดับ
“คุณสังเกตเห็นความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างคนรวยกับคนจนมั้ย ใน เวอร์ชันคนรวย ไม่ว่าคุณจะเลือกยังไง คุณก็แค่เปลี่ยนความสำเร็จไปเป็นแบบอื่น ส่วนในเวอร์ชันคนจน คุณมีตัวเลือกจำกัด ถ้าเลือกพลาดก็จะตกสู่วังวนแห่งความ จนเร็วขึ้นกว่าเดิม
“ความแตกต่างระหว่างทั้งสองเวอร์ชันคืออะไร จริงๆ แล้วมีบอกใบ้ไว้ในเกม และอยู่ในตัวเลข
“สำหรับตัวเอกคนจน ชีวิตคือชุดตัวเลขยาวเหยียดที่ต้องคำนวณอย่าง ละเอียดรอบคอบ หากมีตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งผิดเพี้ยนไป ก็จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ จะทำให้สายโซ่ทั้งหมดพังทลายทันที ความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมาจะกลายเป็น ศูนย์
“ทีนี้กลับมาดูที่ตัวเอกคนรวย ไม่ว่าจะเลือกอะไร ไม่ว่าจะใช้เงินไปขนาดไหน ยังไงก็มีเงินและทรัพยากรเพิ่มขึ้นเสมอ
“ดังนั้นระบบของเกมจึงคอยควบคุมเงินในเกม เพื่อ ‘จัดการให้ตัวเอกคนจน ที่กำลังดิ้นรนกลับสู่ทางที่ถูกต้อง’ พยายามลบเงินให้เป็นศูนย์ และเข้าสู่ตอนจบ เพียงหนึ่งเดียว
“ทำไมคนจนถึงใช้จ่ายเงินมากขึ้นพอมีรายได้เพิ่มขึ้น บางคนคิดว่าเป็นเพราะ คนจนหลายคนขาดการตระหนักรู้เรื่องการเงิน และโดนล้างสมองโดยวัฒนธรรม
บริโภคนิยม แต่เราก็ต้องสังเกตด้วยว่าในเกมมีรายจ่ายหลายอย่างที่เราไม่สามารถ เลือกได้
“ตัวอย่างเช่น ทำไมคนจนต้องใช้เงินเดือนหนึ่งเดือนซื้อสูท เข็มขัด และ กระเป๋าทำงานแบรนด์ luxury เขาจำเป็นต้องใช้ของพวกนี้ด้วยเหรอ ใช้ของถูก กว่านี้ไม่ได้จริงๆ เหรอ
“ใช่ เขาจำเป็นต้องใช้ของพวกนี้
“เพราะในสภาพสังคมของเกม ถ้าตัวเอกคนจนสวมเสื้อผ้าถูกๆ ก็จะไม่เข้า พวกกับเพื่อนร่วมงานและคนรอบตัว เขาจะไม่มีทางเป็นส่วนหนึ่งของวงสังคมได้
“เพราะงั้นหลายคนจึงอยากรักษาหน้าตัวเอง เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องเสียหน้า แต่ประเด็นจริงๆ อยู่ที่ผลประโยชน์ของตัวเอง
“ใช่ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าบริโภคนิยม
“และแบรนด์ luxury ก็เป็นการผนวกรวมของวัฒนธรรมบริโภคนิยม เป็น สัญลักษณ์แบบรูปธรรม
“ในเกม ทั้งคนจนและคนรวยต่างก็ใช้แบรนด์นี้ กลุ่มเดียวที่ไม่ใช้คือคนไร้บ้าน
“พอตัวเอกคนจนหางานดีๆ ได้ เขาก็ต้องใช้ของแบรนด์ luxury อยู่บ้านที่ดี ขึ้น ขับรถที่แพงขึ้น เพราะถ้าไม่ทำแบบนั้น คนรอบตัวก็ใช้คำพูดแนวทำร้ายจิตใจ หรือประสงค์ดีเน้นย้ำเขาเรื่องนี้
“พวกคนที่มุ่งร้ายจะถอยห่าง ขับไล่ และกันไม่ให้เข้ามาในกลุ่มสังคม ส่วนคน ที่ประสงค์ดีจะคอยย้ำว่าคุณต้องการสิ่งเหล่านี้
“เพราะงั้นไม่ว่าจะเป็นตัวเอกหรือผู้เล่น คุณไม่มีทางเลือก นี่คืออีกการ ออกแบบหนึ่งที่ทำลายกำแพงที่สี่”