ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา - บทที่ 531 แบ่งกันไป
การเพาะเลี้ยงปลาทูน่าถือว่าเป็นเทคโนโลยีการประมงที่ดีที่สุดของญี่ปุ่น พวกเขายังเป็นหนึ่งเดียวของโลกสำหรับด้านนี้ มีเพียงแค่พวกเขาเท่านั้นที่มีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่ยอดเยี่ยม
อีกทั้งเทคโนโลยีที่ใช้นั้นก็เหมือนกับที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง ‘วากิว’ ซึ่งเป็นเทคนิคลับสุดยอดของญี่ปุ่น ถ้าไม่ใช่เพราะเทซึกะ โกดะอยากจะเอาใจฉินสือโอว พวกเขาก็คงไม่มีโอกาสได้มาเยี่ยมชมเกาะโอชิมะอย่างแน่นอน
ซึ่งแน่นอนว่า ฉินสือโอวก็ไม่ได้คิดอยากจะมาชมตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เขาเพียงแค่อยากจะมาดูว่าจะเอาปลาทูน่าครีบน้ำเงินพวกนี้ไปได้อย่างไรก็เท่านั้น
ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเป็นปลาทูน่าชนิดที่หายากมากชนิดหนึ่ง และมันก็ยังสามารถแบ่งชนิดย่อยออกได้เป็น ปลาทูน่าครีบน้ำเงินแอตแลนติก ปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิกและอื่นๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นที่หายากมากที่สุดก็คือปลาทูน่าครีบน้ำเงินแอตแลนติก
และปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่อยู่ในทะเลญี่ปุ่นล้วนแต่เป็นตระกูลแปซิฟิก ฉินสือโอวถึงจะเคยไปเดินสำรวจตลาดสึกิจิ แต่ก็ยังดูไม่ออกอยู่ดีว่าพวกมันต่างกับปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่ฟาร์มปลาของตัวเองอย่างไร นิชิมุระพูดว่ามันแตกต่างกันตรงที่รสชาติ แต่เขาก็รู้สึกว่าไม่จริง สำหรับเขาแล้วมันไม่ต่างอะไรกันเลย
ส่วนเทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าครีบน้ำเงินของญี่ปุ่นนั้นต้องย้อนไปในสมัยยุค 70 เมื่อมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคินไตเริ่มศึกษา ก็พบว่าในยุค 80 ปลาที่เกิดเองโดยธรรมชาติถูกนำมาเลี้ยงจนโต นั่นก็เพราะว่าพันธุ์ปลาทูน่าที่เกิดเองตามธรรมชาติลดน้อยลง จึงยากต่อการขยายพันธุ์
จากนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่21 เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงก็ถูกตีแตกจนได้ ในที่สุดมหาวิทยาลัยคินไตก็ค้นพบถึงการเพาะเลี้ยงปลาทั้งหมดได้ ความหมายก็คือแม้แต่สายพันธุ์ของปลาก็สามารถเพาะพันธุ์ได้โดยฝีมือของมนุษย์
และถึงแม้ว่าผลผลิตนั้นเมื่อเทียบกับปลาทูน่าที่เกิดเองตามธรรมชาติจะไม่ได้ออกมามากเท่าไร แต่เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงค่อนข้างเป็นที่น่าเชื่อถือ จากนั้นผลผลิตจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี จนกระทั่ง การเพาะเลี้ยงปลาทูน่ากลายเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือได้จริง
การเพาะเลี้ยงปลาทูน่าโดยฝีมือมนุษย์ที่ญี่ปุ่นจึงถูกขนานนามว่าทูน่าคินไต หรือก็คือปลาทูน่าจากมหาวิทยาลัยคินไต ปลาชนิดนี้ถึงแม้ภายนอกดูจะไม่ต่างกับปลาตามธรรมชาติสักเท่าไร แต่รสชาติของเนื้อมันแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากปลาทูน่าที่เพาะพันธุ์เองออกกำลังไม่มากพอ คุณภาพเนื้อและไขมันจึงถือว่าต่ำมาก รสชาติเลยไม่ค่อยอร่อย
แต่ทว่า ราคาต่อหน่วยของทูน่าคินไตไม่ได้ต่ำไปกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินพันธุ์ทั่วไปๆ สักเท่าไร ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าค่าใช้จ่ายในการเพาะเลี้ยงทูน่าคินไตนั้นสูงมาก สูงกว่าค่าใช้จ่ายในการจับปลาตามธรรมชาติหนึ่งตัวด้วยซ้ำ
พอฉินสือโอวนั่งเรือมาถึงเกาะโทชิมะก็ถึงได้รู้ว่าทำไมค่าใช้จ่ายในการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าถึงได้สูงขนาดนั้น แหล่งเพาะเลี้ยงนี้ไม่ใช่แค่สระเล็กๆ แต่เป็นบ่อเพาะเลี้ยงเทียมทรงกลมระดับสูงที่สร้างไว้รอบๆ เกาะโทชิมะ!
ซึ่งตั้งสูงขึ้นห่างจากพื้นทะเลของเกาะโทชิมะประมาณเจ็ดแปดกิโลเมตรโดยมีท่อคอนกรีตอัดแรงดันแต่ละเส้นเชื่อมต่อกัน ท่อพวกนี้กับท่อระดับสูงที่เขานำมาใช้สร้างท่าเรือดูจะไม่ต่างกันเท่าไร และพอนำมาเชื่อมต่อกันก็ได้สองร้อยเมตรพอดี!
อีกทั้งท่อแบบนี้ ที่เกาะโทชิมะมีอย่างน้อยที่สุดก็ยี่สิบเส้น ท่อพวกนี้จึงนำมาเป็นโครงที่ตรงกลางขึงตาข่ายจับปลาเอาไว้ ซึ่งตาข่ายนี้ได้ขึงเอาไว้รอบๆ คล้ายกับโอบล้อมน่านน้ำไว้ทั้งผืน เช่นนี้มันจึงถูกเรียกว่าแหล่งเพาะเลี้ยงปลาทูน่า นอกจากนี้ทางเกาะยังปล่อยท่อทั้งเส้นหนาเส้นบางลงสู่มหาสมุทรนับไม่ถ้วน จากนั้นเครื่องทำออกซิเจนบนเกาะก็เริ่มทำงาน และปล่อยออกซิเจนลงสู่น้ำทะเลอย่างไม่ขาดสาย…
เมื่อเห็นภาพที่อยู่ตรงหน้าอย่างนี้แล้ว ฉินสือโอวก็เข้าใจแล้วว่าทำไมเทซึกะ โกดะถึงอยากร่วมมือกับเขาทำฟาร์มจับปลาทูน่านัก ด้วยความที่คนญี่ปุ่นมีความหลงใหลในสิ่งนี้เข้าขั้นบ้าเลยก็ว่าได้ จึงมีความต้องการเป็นอย่างมากที่อยากจะกินของที่มีต้นทุนสูงขนาดนี้
จากนั้นฉินสือโอวจึงถามราคาของท่อพวกนี้กับนิชิมุระ แล้วเขาก็ตอบขึ้นว่า “เส้นหนึ่งก็ประมาณหนึ่งร้อยสี่สิบล้านเยน สามารถใช้ได้ถึงสี่สิบถึงห้าสิบปี”
“ราคานี้ไม่สูงไปหน่อยเหรอ แค่เพื่อเอาไว้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าน่ะนะ?” ฉินสือโอวถามขึ้นอย่างประหลาดใจ หนึ่งร้อยสี่สิบล้านเยนก็ประมาณเจ็ดล้านหยวน ถ้ายี่สิบเส้นก็หนึ่งร้อยสี่สิบล้านหยวน
นิชิมุระจึงพูดอย่างจริงจังว่า “เพราะมูลค่าในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่จำกัด และถ้าเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาทูน่าลงตัวทุกอย่างแล้ว คุณรู้ไหมว่าญี่ปุ่นของเราจะสามารถประหยัดเงินไปได้เท่าไร?”
ฉินสือโอวยิ้มเจื่อนแล้วพูดขึ้น “แค่พวกคุณไม่กินปลาชนิดนี้ ก็ถือเป็นการประหยัดเงินแล้วใช่หรือไง?”
พอนิชิมุระได้ยินอย่างนั้นก็ถึงกับรีบร้อนพูดขึ้น “จะไม่กินได้อย่างไรล่ะ? ถ้าไม่ได้กินของดีแบบนี้ งั้นชีวิตนี้มันจะไปมีความหมายอะไรล่ะ?”
ฉินสือโอวพอได้ฟังก็ถึงกับกระอักเลือดออกมา!
วินนี่ที่กำลังมองไปยังตาข่ายที่อยู่รอบด้าน ก็ถามขึ้นอย่างประหลาดใจ “นิชิมุระ ตาข่ายดักปลาพวกนี้ไม่มีรูเหรอ? หรือถ้ามีรูแล้วปลาทูน่าพวกนั้นจะไม่กระโดดหนีเหรอ?”
นิชิมุระจึงอธิบายว่า “แน่นอนว่าต้องมีรูอยู่แล้ว แต่จากประสบการณ์การวิจัยที่พวกเราได้ค้นพบนั้นก็คือปลาทูน่าต้องว่ายน้ำตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอด และด้วยวิถีชีวิตแบบนี้จึงทำให้พวกมันมีนิสัยว่ายแบบสุ่มสี่สุ่มห้า นอกซะจากว่ามันจะว่ายไปเจอรูพอดิบพอดีมิเช่นนั้นพวกมันก็ไม่สามารถหารูเจอแล้วว่ายหนีออกไปได้”
ฉินสือโอวก็เข้าใจถึงจุดนี้ดี เพราะระดับความเร็วในการว่ายของปลาทูน่าครีบน้ำเงินนั้นถือว่าเร็วมาก เร็วขนาดเจ็ดสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยก็ว่าได้ ด้วยความเร็วเท่านี้ถ้าไปชนกับอะไรเข้าโดยปกติแล้วก็สามารถตายได้เลย ดังนั้นพวกมันจึงมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบอัตโนมัติ เมื่อพบว่ามีสิ่งกีดขวางก็จะรีบเปลี่ยนทิศทางการว่ายในทันที โดยจะไม่ว่ายเข้าไปชนแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
แต่ช่างน่าเสียดายที่ครั้งนี้คนญี่ปุ่นได้มาเจอกับฉินสือโอวเข้า จากสัญชาตญาณที่กลัวสิ่งกีดขวางของปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ท่านฉินผู้ยิ่งใหญ่จะมาเปลี่ยนสัญชาตญาณของเจ้าปลาพวกนี้เอง!
และจิตสำนึกแห่งโพไซดอนก็วนรอบเกาะโทชิมะด้วยความเร็วสูง ฉินสือโอวเจอปลาทูน่าครีบน้ำเงินจำนวนหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังไม่โตเต็มวัยยังคงมีขนาดประมาณสิบกิโลกรัม พวกตัวใหญ่ก็ประมาณสี่สิบห้าสิบกิโลกรัม ส่วนพวกที่ยาวหนึ่งเมตรขึ้นไปนั้นไม่ค่อยจะมีให้เห็น ปลาเล็กๆ พวกนี้จะไม่ค่อยได้ราคาเท่าไร
จากจุดนี้จึงทำให้เห็นถึงนิสัยของคนญี่ปุ่น จากครั้งที่แล้วในงานประมูลที่ตลาดสึกิจิ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่จับมาได้จากในทะเลหลายๆ ที่ต่างก็มีขนาดประมาณยี่สิบถึงห้าสิบกิโลกรัม
แต่เมื่อดูในบ่อเพาะเลี้ยงของพวกเขาเองแล้วถ้าปลาทูน่ายังไม่โตเต็มที่จะไม่จับขึ้นมา เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เด็กๆ ไม่ให้ชิงสุกก่อนห่าม
ลงไปทางใต้ของเกาะโทชิมะเป็นเกาะนิจิอิมะ ซึ่งทางบริษัทคิโยมุระจำกัดมหาชนได้มีหุ้นอยู่ในแหล่งเพาะเลี้ยงที่เกาะนี้ นิชิมุระจึงสามารถพาพวกฉินสือโอวเข้าไปชมด้านในของแหล่งเพาะเลี้ยงได้
เมื่อเรือเล็กได้เทียบท่าแล้วนั้น ก็มีผู้ชายสองคนสวมชุดพนักงานรักษาความปลอดภัยเดินเข้ามาเพื่อที่จะค้นตัว เพราะไม่อนุญาตให้พกกล้อง โทรศัพท์ หรือกล้องอัดวิดีโอขึ้นเกาะ เหตุผลง่ายๆ เลยก็คือป้องกันไม่ให้มีคนถ่ายรูปเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาทูน่า
ฉินสือโอวที่ไม่อยากให้คนพวกนี้มาค้นตัว เขาจึงขอไม่ขึ้นไปแต่ให้ นิชิมุระ พาเขาดูบริเวณรอบๆ แทน
เรือที่กำลังแล่น จิตสำนึกแห่งโพไซดอนก็โลดแล่นอยู่เช่นกัน พอถึงเกาะโคซูชิมะแล้วก็พบกับเรื่องเซอร์ไพรส์เข้าให้
นั่นก็คือท่อหลักที่เกาะโคซูชิมะนั้นยาวกว่า มันยื่นลงไปในทะเลลึกได้ถึงสามร้อยเมตร และปลาทูน่าที่นี่ก็มีทั้งเล็กทั้งใหญ่แต่ส่วนมากจะเป็นตัวเล็กซะมากกว่า อีกทั้งปลาพวกนี้ว่ายเร็วกว่าและมีพลังมากกว่า ซึ่งไม่เหมือนกับปลาทูน่าขี้เกียจที่อยู่ในบ่ออื่นๆ พวกนั้น
ฉินสือโอวที่พูดเหน็บใส่นิชิมุระเล็กน้อยก็หาคำตอบได้แล้ว และถ้าเป็นแบบที่เขาคาดเดาเอาไว้ล่ะก็ แสดงว่าปลาทูน่าในแหล่งเพาะเลี้ยงนี้ล้วนแต่เป็นชนิดที่เกิดตามธรรมชาติ ซึ่งถ้าสามารถจับปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่เกิดตามธรรมชาติได้ก็จะนำมันนำกลับไปก่อนที่มันจะตายแล้วเอาไปไว้ที่บ่อเพาะเลี้ยงของเกาะโคซูชิมะ
จิตสำนึกแห่งโพไซดอนที่กำลังโลดแล่นอยู่ ฉินสือโอวก็มองแล้วมองอีก ภายในน้ำมีปลาทูน่าครีบน้ำเงินอยู่ประมาณร้อยตัว ซึ่งจำนวนถือว่าน้อยกว่าแหล่งเพาะเลี้ยงที่อื่นๆ อีก เพราะแหล่งเพาะเลี้ยงที่อื่นๆ อย่างน้อยก็มีสองร้อยตัวแล้ว
ซึ่งจุดนี้มีความเกี่ยวข้องไปถึงสัญชาตญาณของปลาทูน่าครีบน้ำเงินด้วย เพราะว่าพวกมันต้องคงความเร็วในการว่ายไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมง และถ้ามีจำนวนมากเกินไปอีกทั้งไม่ใช่ชนิดเดียวกันอีกก็จะง่ายต่อการเกิดการชนกัน ระดับความเร็วในการว่ายของปลาที่เกิดตามธรรมชาตินั้นเร็วกว่าปลาที่อยู่ในแหล่งเพาะเลี้ยง ดังนั้นความหนาแน่นในบ่อเพาะเลี้ยงจึงน้อยกว่า
จากนั้นจิตสำนึกแห่งโพไซดอนก็เริ่มไล่ต้อนเป็นวงจากรอบนอกเข้ามา พอเจอกับปลาทูน่าก็รีบสะกดและให้จุดหมายแก่พวกมัน โดยให้ว่ายไปที่มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและพุ่งตรงไปยังฟาร์มปลาต้าฉิน
………………………………………..