Release That Witch ปล่อยแม่มดคนนั้นซะ - ตอนที่ 1191 ธาตุที่หายาก
โรแลนด์หยิบเอากล่องตะกั่วกล่องหนึ่งมาเปิดออก ก่อนจะหยิบเอาโลหะสีเงินขาวที่อยู่ข้างในมาไว้ในมือเพื่อรับรู้ถึงน้ำหนักของมัน ในตอนที่ยังไม่ได้ถูกกระตุ้น มันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเหล็กบริสุทธิ์เลย ขอเพียงไม่เอามันใส่เข้าปาก มันก็แทบจะไม่มีอันตรายอะไรเลย ถ้าไม่เป็นเพราะเขามีความรู้เกี่ยวกับมันมากพอ เพียงแค่ดูจากภายนอกเขาก็คงไม่มีทางคิดถึงเหมือนกันว่าในวัตถุชิ้นเล็กๆ แบบนี้จะมีพลังที่น่าตกตะลึงแฝงเอาไว้อยู่
และก็เป็นเพราะมัน มนุษย์ถึงได้สัมผัสกับประตูแห่งการเปลี่ยนแปลงพลังเป็นครั้งแรก
เมื่อเทียบกับดินปืนเคมีทั้งหมดก่อนหน้านี้แล้ว มันเรียกได้ว่าเป็นการก้าวขึ้นไปบนบันไดขั้นใหม่
โรแลนด์ประเมินดูจำนวนกล่องตะกั่วคร่าว ดูแล้วน่าจะประมาณ 50 กล่อง โดยในแต่ละกล่องจะเก็บวัตถุน้ำหนัก 1 กิโลกรัมเอาไว้ หรือก็คือยูเรเนียม 235 ทั้งหมด 50 กิโลกรัม ความบริสุทธ์ของมันเรียกได้ว่า 100%
และตู้ตะกั่วแบบนี้ ภายในห้องไม่ได้มีแค่ตู้เดียว
ถ้าเอาพวกมันมากองไว้ด้วยกัน….
ศูนย์วิจัยแห่งนี้ก็คงจะปล่อยพลังงานสูงได้จริงๆ ล่ะมั้ง
“เจ้าพวกนี้ต้องทำยังไงถึงจะกลายเป็น ‘แสงพระอาทิตย์’ อย่างที่พระองค์ตรัสไว้ก่อนหน้านี้ล่ะเพคะ?” ไนติงเกลถามอย่างสงสัย “เอาไปทำเป็นอาวุธชนิดพิเศษหรือว่าตัวจุดระเบิดหรือเพคะ? ทำไมหม่อมฉันถึงรู้สึกว่าพวกมันไม่ติดไฟ”
“อยากรู้เหรอ?” โรแลนด์ยิ้มออกมา “มันง่ายกว่าที่เจ้าคิดไว้มาก เราแค่เอาก้อนโลหะที่อยู่ในกล่องมากองไว้ด้วยกัน พวกมันก็จะปล่อยแสงและความร้อนออกมาเอง แค่ยูเรเนียมในตู้นี้ตู้เดียวก็เพียงพอที่จะระเบิดเมืองเนเวอร์วินเทอร์ให้ราบเป็นหน้ากลองแล้ว ดังนั้นหน้าที่ของลูเซียยังมีความสำคัญอย่างมาก ถ้าเกิดมือสั่นเพียงเล็กน้อย…”
ทุกคนเงียบไปทันที
ลูเซียเอามือปิดปาก ในดวงตาเผยให้เห็นสายตาที่หวาดกลัว
“….ไม่จริงน่า” ผ่านไปครู่หนึ่งอาซีม่าถึงได้พูดขึ้นมาเหมือนไม่อยากจะเชื่อ “พระองค์ทรงหมายความว่าถ้าเกิดไม่ระวัง พวกหม่อมฉันอาจจะทำลายเมืองนี้ทั้งเมืองเหรอเพคะ?”
ไนติงเกลหายตัวเข้ามาแย่งกล่องตะกั่วไปจากมือโรแลนด์แล้วเอาไปวางไว้ในตู้ ก่อนจะคว้ามือเขาแล้วดึงออกไปด้านนอก
“เฮ้ย…เดี๋ยวๆๆ เจ้าจะทำอะไร?”
“ยังต้องถามอีกเหรอเพคะ!” ไนติงเกลพูดอย่างร้อนใจ “ก็พาพระองค์ออกจากเมืองน่ะสิเพคะ แล้วก็ให้คนมาขนเอาของพวกนี้ออกไป! ลูเซีย ไปบอกเวนดี้ให้นางติดต่อสำนักบริหาร!”
“ข้า…ข้าจะไปหาเจ้าหญิงทิลลี” อาซีม่ากัดฟัด “มีแต่พระองค์เท่านั้นถึงจะสั่งการมนตร์แห่งสลีปปิ้งได้”
“เดี๋ยวก่อน….ข้าแค่ล้อเล่น…”
ภายในห้องเงียบเป็นป่าช้าทันที โรแลนด์ใช้เวลาอยู่ครู่ใหญ่กว่าจะทำให้ทุกคนใจเย็นลงได้
“พระองค์ทรงแน่ใจนะเพคะว่าแค่ล้อเล่น?” ไนติงเกลพูดอย่างไม่สบอารมณ์
“แค่กๆ ก็ใช่นะสิ…ที่ข้าพูดน่ะมันเป็นแค่ทฤษฎี” เขารีบพูดเสริมต่อว่า “แต่ความจริงแล้วการจะกระตุ้นมันจริงๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายขนาดนั้นหรอก ถึงแม้ข้าจะพยายามเต็มที่ก็ยังไม่แน่ว่าจะทำได้สำเร็จ”
ลูเซียถอนหายใจออกมา “ฝ่าบาท…พระองค์ทรงทำหม่อมฉันตกใจจนเข่าอ่อนเลยเพคะ”
“นี่มันไม่ใช่เรื่องตลกเลยนะเพคะ” ไนติงเกลถลึงตาใส่เขา “ถ้าเวนดี้กับบุ๊คได้ยินเข้าล่ะก็ ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องล้อเล่นหรือไม่….”
“พวกนางก็คงจะบอกให้ข้าย้ายศูนย์วิจับออกไปยังนอกเมืองเนเวอร์วินเทอร์ใช่ไหมล่ะ?” โรแลนด์พูดอย่างจนปัญญา
“พระองค์ทรงรู้ก็ดีแล้วเพคะ หรือไม่ก็ย้ายพระองค์ไปยังที่ปลอดภัยก็ได้เพคะ”
“เอาล่ะ ถือซะว่าข้าไม่ได้พูดอะไรก็แล้วกัน…” เขากระแอมเล็กน้อย “ขอเพียงพวกเจ้าไม่พูด เวนดี้กับบุ๊คก็ไม่มีทางรู้เรื่องนี้”
“แต่อาจจะมีนกบางตัวได้ยินเข้า” ไนติงเกลเหลือบมองไปทางหน้าทาง
“รีบจับมันมา เครื่องดื่มยุ่งเหยิง 1 ขวด” โรแลนด์พูดอย่างไม่ลังเล
“ตกลงเพคะ” เธอหายตัวไปต่อหน้าทั้งสามคน
เมื่อเห็นสีหน้าตกตะลึงของลูเซียกับอาซีม่า โรแลนด์จึงยักไหล่แล้วพูดว่า “เอ่อ…ไม่ต้องสนใจหรอก นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการล้อเล่นเหมือนกัน”
หลังจากนั้นครู่หนึ่ง ไนติงเกลก็กลับเข้ามาในห้องอีกครั้ง “ไม่พบเป้าหมายน่าสงสัย แต่เรื่องค่าตอบแทน…”
“ยังคงมีผล”
สีหน้าเธอดูผ่อนคลายขึ้นมา ก่อนจะฮัมเพลงเบาๆ พร้อมเอาปลาแห้งใส่เข้าไปในปาก
“ฝ่าบาทเพคะ” อาซีม่าลังเลอยู่ครู่ ก่อนจะพูดด้วยสีหน้าสงสัยว่า “ที่พระองค์ตรัสก่อนหน้านี้มันไม่ใช่เรื่องล้อเล่นทั้งหมดใช่ไหมเพคะ? เพราะว่าตอนที่ทรงตั้งกฎขึ้นมา พระองค์ทรงเน้นย้ำให้ระวังเรื่องน้ำหนัก ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและการวัดผิดพลาด พระองค์ยังทรงกำหนดให้กล่องตะกั่วแต่ละใบหนัก 4 กิโลกรัม เวลาชั่งน้ำหนักให้ชั่งตัวกล่องเข้าไปด้วย แบบนี้ก็จะทำให้มั่นใจว่าโลหะที่อยู่ในกล่องนั้นมีน้ำหนักเท่ากัน” เธอชะงักไปเล็กน้อย “แล้วก็ พระองค์ตรัสว่าถ้าเกิดในศูนย์วิจัยเกิดเรื่องอะไรขึ้นหรือไม่ก็มีคนบุกเข้ามา สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือแจ้งยามให้มาล็อกศูนย์วิจัยเอาไว้ จากนั้นก็รีบกลับไปรายงานที่ปราสาท ไม่ใช่เข้ามาตรวจสอบดูด้านใน นี่ก็หมายความว่า…มันมีอันตรายอยู่จริงๆ ใช่ไหมเพคะ?”
โรแลนด์มองเธออย่างรู้สึกแปลกใจ “ความสามารถในการสังเกตเยี่ยมมาก ที่เจ้าว่ามาส่วนใหญ่ถูกต้อง นอกจากเรื่องพิษแล้ว น้ำหนักก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ จุดประสงค์ที่ข้าให้วางเอาไว้แยกกันก็เพราะเหตุนี้” การที่เธอสามารถวิเคราะห์ออกมาได้แบบนี้นั้นถือว่าเธอมีความระมัดระวังทีเดียว และก็เป็นเพราะความละเอียดอันนี้ถึงได้ทำให้เธอตื่นรู้พลังในการค้นหาแหล่งกำเนิดล่ะมั้ง… “แต่ว่าแค่น้ำหนักเพียงอย่างเดียวนั้นทำอันตรายได้แค่ศูนย์วิจัยเท่านั้น ถ้าอยากจะทำให้มันกลายเป็นอาวุธที่ใช้จัดการกับปีศาจ มันจำเป็นต้องมีอีกสิ่งหนึ่งด้วย”
“เจ้าเม็ดเล็กๆ ที่วางเอาไว้ต่างหากนั่นน่ะเหรอเพคะ?” อาซีม่านึกขึ้นมาได้ทันที
“ไม่ใช่ซะทีเดียว แต่อย่างน้อยก็ทายถูกครึ่งหนึ่ง”
องค์ประกอบของยูเรเนียมธรรมชาตินั้นมีความซับซ้อนอย่างมาก นอกจากสารประกอบยูเรเนียมแล้ว มันยังมีธาตุที่ปล่อยรังสีได้อยู่อีกมากมายด้วย ส่วนใหญ่พวกมันจะเป็นผลผลิตขั้นทุติภูมิหลังจากการสลายตัว บางตัวก็สูญเสียความสามารถในการปล่อยรังสีไป กลายเป็นธาตุที่มีความสเถียร บางตัวก็ยังคงอยู่บนเส้นทางของการสลายตัวอันยาวนาน ถึงแม้ตอนที่เผ่ากัมมันตรังสีสร้างวิหารต้องสาปขึ้นมาพวกมันจะทำการสกัดขั้นต้นมาแล้ว แต่องค์ประกอบส่วนใหญ่ยังคงเหมือนๆ กันอยู่ ในจุดนี้จะเห็นได้จากผลลัพธ์ที่ลูเซียทำการสกัดออกมา
องค์ประกอบที่มีมากที่สุดในนั้นก็คือยูเรเนียม 238 ถึงแม้จะทำอาวุธไม่ได้ แต่ว่ามันกลับสามารถเอาไปใช้กับลูกบาศก์เวทมนตร์ได้ โดยประสิทธิภาพของมันแทบจะไม่ได้ต่างอะไรกับยูเรเนียม 235 เลย ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกขนไปยังสวนหลังเนินทิศเหนือ
อันดับต่อมาคือยูเรเนียม 235 ที่เมื่อความบริสุทธ์มากกว่า 90% ก็สามารถมองเป็นอาวุธได้แล้ว ปริมาณในธรรมชาติของมันมีอยู่น้อยนิดเพียงแค่ 1% ของธาตุยูเรเนียม ดังนั้นถ้าปัญหาแรกของโปรเจคเรเดียชั่นก็คือการสกัด ซึ่งเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถข้ามมันไปได้
แต่มันไม่ใช่ธาตุที่หายากที่สุด การสลายตัวหลังจากนั้นจะทำให้เกิดธาตุต่างๆ ขึ้นมาอย่างเช่น ทอเรียม เรเดียม เรดอน โพโลเนียมซึ่งล้วนแต่เป็นธาตุที่หาได้ยากกว่ายูเรเนียม และธาตุที่โรแลนด์ต้องการก็คือโพโลเนียม 210 ซึ่งเป็นไอโซโทปชนิดหนึ่งที่อยู่แพร่หลายมากที่สุดในธาตุตระกูลโพโลเนียม
โรแลนด์ซึ่งได้รับการศึกษาภาคบังคับมาเป็นเวลา 9 ปีจากโลกที่แล้วนั้นเรียกได้ว่ารู้จักธาตุเรเดียมและโพโลเนียมเป็นอย่างดี มาดามคูรีที่ในหนังสือเรียนมักจะพูดถึงบ่อยๆ ก็คือถูกจารึกชื่อลงไปประวัติศาสตร์เพราะค้นพบพวกมันทั้งคู่ ถึงแม้ครึ่งชีวิตของโพโลเนียมจะมีแค่ร้อยกว่าวัน อีกครั้งปริมาณของมันยังมีน้อยนิดอย่างมาก จนทำให้การสกัดหลายๆ ครั้งของมาดามคูรีต้องประสบความล้มเหลว แต่เธอก็ยังแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของมันผ่านทางรังสีอันรุนแรงที่ถูกปล่อยออกมาจากสารละลายแร่
แต่ไม่ว่าจะเป็นเรเดียมหรือว่าโพโลเนียมก็ล้วนแต่ใช้ในการสร้างแหล่งกำเนิดนิวตรอนได้ ซึ่งนี่ก็เกี่ยวข้องถึงขั้นที่สองของโปรเจคเรเดียชั่น นั่นคือการจุดระเบิด
หลักการของอาวุธนิวเคลียร์รุ่นแรกนั้นง่ายมาก เรียกได้ว่าสามารถสรุปออกมาได้ในประโยคเดียว นั่นคือ ‘การแตกตัวของนิวไคลด์จะปล่อยพลังงานออกมา’ —- หลังจากที่ยูเรเนียม 235 ได้รับนิวตรอนเข้าไป มันก็จะถูกกระตุ้นให้กลายเป็นยูเรเนียม 236 ที่ไม่เสถียร จากนั้นก็จะแตกตัวกลายเป็นนิวไคลด์ที่เบากว่าเดิมกับนิวตรอนอิสระที่มากขึ้น ความแตกต่างของคุณภาพนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงาน
เห็นได้ชัดว่านิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจะบินไปชนกับนิวไคลด์อื่นๆ แล้วก็จะหมุนวนไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกลายปฏิกิริยาลูกโซ่ ขณะเดียวกันมันก็จะปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาลที่เหมือนกับระเบิดออกมา
แต่ว่าเมื่อเราเอาอะตอมไปขยายดูแล้ว เราจะพบว่าช่องว่างระหว่างนิวเคลียสนั้นเป็นเหมือนกับหุบเหวลึก ก็เหมือนกับที่ในหนังสือเขียนเอาไว้ว่าถ้ามองอะตอมเป็นสนามฟุตบอลล่ะก็ อย่างนั้นนิวเคลียสก็จะเป็นเพียงมดตัวหนึ่งที่อยู่บนนั้น ถ้าโชคไม่ดี นิวตรอนก็จะบินออกนอกสนามไป ปฏิกิริยาก็จะหยุดลง ถ้าอยากจะให้มดทุกตัวถูกชนก็ต้องเพิ่มสนามฟุตบอลเอาไว้รอบๆ ให้มากพอ เพื่อทำให้นิวตรอนไม่ว่าจะบินไปทางไหนก็จะมีมดไปขวางอยู่ข้างหน้ามัน
เมื่ออยู่ในโลกขนาดเล็ก สิ่งที่เห็นได้ง่ายก็คือ ‘คุณภาพ’ กับ ‘รูปร่าง’
ความจริงแล้ว มวลวิกฤตินั้นไม่ใช่ตัวเลขที่ตายตัว ก็เหมือนกับสนามฟุตบอลที่เรียงต่อกันเป็นแถวยาวย่อมมีโอกาสที่นิวเคลียสจะถูกพุ่งชนน้อยกว่าสนามฟุตบอลที่เอามาซ้อนทับกัน ผลลัพธ์อย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องคำนวณตามรูปร่างของมัน โรแลนด์เคยได้ยินว่ามีคนคำนวณตัวเลขพลาดจนทำให้แพ้สงคราม แต่แน่นอนว่าเขาซึ่งเป็นผู้ที่มาจากอนาคตย่อมไม่จำเป็นต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ ผลการทดลองจำนวนนับไม่ถ้วนได้บอกแล้วว่าในตอนที่วัตถุเป็นทรงกลม มันจะมีค่าวิกฤตน้อยที่สุด ซึ่งมวลวิกฤตของยูเรเนียม 235 นั้นอยู่ที่ 52 กิโลกรัม
ที่เขากำหนดน้ำหนักของธาตุยูเรเนียมในกล่องตะกั่วแต่ละใบอยู่ที่ 1 กิโลกรัมนั้นถือว่าระมัดระวังอย่างมากแล้ว
แต่ก็เป็นเพราะว่ามวลวิกฤตินั้นมีความไม่แน่นอน ถ้าหากสามารถลดพื้นที่ของสนามฟุตบอลได้ หรือไม่ก็เพิ่มนิวตรอนให้กับนิวไคลด์ได้มากพอ เช่นนั้นค่าวิกฤติของมันก็จะลดลงอย่างมาก โดยวิธีแรกนั้นคือหลักการของการระเบิดภายใน ถ้าหากติดตั้งตัวจุดระเบิดเอาไว้ที่รอบๆ ระเบิด วินาทีที่มันระเบิดขึ้นมาก็จะทำให้ปฏิกิริยาเคมีบีบตัวเข้าหากัน ทำให้ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นจนเกินค่าวิกฤติ สำหรับเทคโนโลยีของเมืองเนเวอร์วินเทอร์ในตอนนี้แล้ว การจะคำนวณมวลวิกฤติอะไรพวกนั้นถือเป็นเรื่องยากมากเกินไป ด้วยเหตุนี้โรแลนด์จึงมองไปที่วิธีที่สอง
นั่นคือการใช้ประโยชน์จากแหล่งกำเนิดนิวตรอนในการทำให้ปฏิกิริยาแตกตัวดำเนินไปเรื่อยๆ
…………………………………………………………………..