Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 1016 ปลดล็อกความสำเร็จลับ!
- Home
- Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ
- ตอนที่ 1016 ปลดล็อกความสำเร็จลับ!
เช้าของวันที่สามสิงหาคม
ท้องฟ้าเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสว่างเหมือนกลางวัน
โรงแรมโครินเทียเต็มไปด้วยผู้คน
ถึงแม้ว่าหอประชุมมีพื้นที่กว้างขวาง แต่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก จึงต้องมีจุดตรวจความปลอดภัยตั้งขึ้นไว้สองจุดที่ทางเข้า
ประธานสมาพันธ์คณิตศาสตร์นานาชาติ ศาสตราจารย์ชิเงะฟุมิ โมริ รวมไปถึงศาสตราจารย์เวียนา ประธานคณะกรรมการจัดงาน ยืนบนเวทีและกล่าวพูดเปิดงาน พวกเขากำลังต้อนรับนักวิชาการที่มาจากทั่วทุกมุมโลกและขอบคุณเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่ให้การสนับสนุนการประชุม
หลังจากนั้นก็เป็นเวทีที่ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารอที่สุด นั่นก็คือพิธีประกาศรางวัล
พิธีนี้เป็นไฮไลท์ของการประชุมทั้งหมด และคนส่วนมากมาร่วมงานก็เพราะแค่พิธีประกาศรางวัล
รางวัลสี่ประเภทถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในเกียรติสูงสุดของด้านคณิตศาสตร์ มีข่าวลือว่าการได้รับหนึ่งในรางวัลนี้จะทำให้นักวิชาการคนนั้นได้ตามเส้นทางคณิตศาสตร์ไปชั่วชีวิต
โดยเฉพาะรางวัลเหรียญฟิลด์
เมื่อเทียบกับรางวัลอาชาทองคำสำหรับความสำเร็จชั่วชีวิต รางวัลนี้สามารถมอบให้แค่นักวิชาการที่อายุต่ำกว่า 40 ปี มันจึงเป็นยอดมงกุฎแห่งคณิตศาสตร์
คนส่วนใหญ่ชื่นชมการทำงานหนัก แต่ทุกคนก็อยากเป็นอัจฉริยะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาอย่างคณิตศาสตร์ที่ต้องอาศัยพรสวรรค์
ลู่โจวที่นั่งอยู่ท่ามกลางฝูงชนสามารถได้ยินผู้ที่นั่งใกล้ๆ พูดคุยกันอย่างชัดเจนว่าใครจะได้รับรางวัลนี้
“โจดี้ วิลเลียมสัน นักวิชาการด้านคณิตศาสตร์ที่อายุน้อยที่สุดในออสเตรเลีย ได้ตั้งทฤษฎีฮ็อดจ์พีชคณิตบริสุทธิ์บนวงแหวนโพลิโนเมียล และพิสูจน์ข้อคาดการณ์ของคาซดาน ลัทซ์ติกสำหรับกลุ่มเคิร์ชได้สำเร็จ เขาไม่ได้ชนะครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้รางวัลน่าจะเป็นของเขา”
“…มาริน่า ยาโซฟกา ก็น่าจะมีโอกาส งานวิจัยของเธอคือตรีโกณมิติที่ไม่ต่อเนื่อง และเธอได้ขยายปัญหาสเฟียร์สามมิติเป็น 8 และ 24 มิติ แล้วเธอยังได้ชนะรางวัลสถาบันเคลย์ ปี 2017 และรางวัลรามานูแจน อาจารย์ของผมบอกว่าเธอคืออัจฉริยะ เธออายุ 38 ปีแล้ว มันคือโอกาสสุดท้ายของเธอ”
“งานวิจัยของมาริน่า ยาโซฟกา ก็ยอดเยี่ยมจริง แต่สาขาตรีโกณมิติที่ไม่ต่อเนื่องนั้นไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ นอกจากนี้ อาจารย์ของเธอไม่ใช่นักวิชาการชื่อดัง ผมมั่นใจในนักวิชาการชาวยูเครนอีกคน ซึ่งก็เป็นผู้หญิง”
“ใคร?”
“คนคนนั้นพิสูจน์รางวัลทฤษฎีจำนวนของโคล เวร่า พุลยุย ผู้ชนะรางวัลทฤษฎีจำนวนของโคล รางวัลรามานูแจนเหรียญทอง และรางวัลสมาคมคณิตศาสตร์ยุโรป ทั้งงานวิจัยและอาจารย์ของเธอต่างอยู่ระดับแนวหน้า แล้วเธอก็มาจากพรินซ์ตัน ถ้าพวกเขาไม่พิจารณาเธอครั้งนี้ พวกเขาก็คงทำครั้งหน้า”
“พระเจ้า ทำไมรางวัลเหรียญฟิลด์ถึงจัดขึ้นแค่ทุกสี่ปี? มันมีคนที่ควรชนะรางวัลมากเกินไป”
“นั่นเป็นเพราะว่าถ้าพวกเขาแจกรางวัลมากเกินไป รางวัลก็จะไร้ความหมาย เราต้องเลือกคนที่สุดยอดที่สุด คนที่จะเปลี่ยนอนาคตของคณิตศาสตร์”
ลู่โจวได้ยินบทสนทนาของพวกเขาและเขามีสีหน้าดูประหลาดใจ
เขาไม่รู้ว่าเวร่าชนะรางวัลพวกนั้น
เขาคิดว่าเธอคงไม่เห็นว่ารางวัลพวกนี้น่าพูดถึง ซึ่งทำให้เขาเศร้าเล็กน้อย
ศาสตราจารย์โมริไม่ปล่อยให้ผู้ร่วมงานรอนาน เขาดันแว่นตาขึ้นแล้วเริ่มกระบวนการประกาศรางวัล
“รางวัลแรกคือรางวัลคาร์ล เฟรดดริค กอสส์ ผมรู้ว่าพวกคุณรอมานานสำหรับรางวัลนี้”
ทันทีที่เขาพูดจบ
ทั้งหอประชุมนิ่งเงียบสนิท
หลังจากที่ศาสตราจารย์โมริมองดูรอบหอประชุม เขาพูดด้วยน้ำเสียงนิ่งสงบและขึงขัง
“พวกเรามักพูดกันว่าคณิตศาสตร์เป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ มันเป็นเครื่องมือที่ทำให้พวกเราเข้าใจจักรวาล การผสานวิธีการทางคณิตศาสตร์ระดับสูงเข้ากับวิทยาศาสตร์ประยุกต์สามารถเปลี่ยนโลกได้ แต่มีนักวิชาการเพียงไม่กี่คนที่สามารถสร้างเครื่องมือที่เปลี่ยนอนาคตได้
ผมสามารถใช้เวลาทั้งวันเพื่อพูดเกี่ยวกับความสำเร็จของเขา…”
ทุกคนรวมทั้งลู่โจว ตั้งใจฟังอย่างจดจ่อ
แต่จู่ๆ มีใครบางคนพูดขึ้นมา
“…โอ้ พระเจ้า ผมรู้อยู่แล้วว่าคนนั้นคือใคร ให้รางวัลเขาไปเลย!”
ผ่านไปสักพัก มีใครอีกคนพูดขึ้น
“ใช่แล้ว ทุกคนรู้ว่าใครจะได้รางวัลคาร์ล เฟรดดริค กอสส์ รางวัลต่อไปเลย”
ลู่โจว “…”
เวรเอ๊ย!
คนพวกนี้หุบปากได้ไหมวะ?
สิ่งนี้กำลังทำลายความตื่นเต้น!
ลู่โจวหันไปมองดูคนที่กำลังทำลายบรรยากาศ แต่มันมีคนอยู่ในหอประชุมเยอะเกินไป เขาเลยไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นคนพูด
ศาสตราจารย์โมริพูดต่อบนเวที “คณิตศาสตร์ของเราเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนแปลงโลก!”
“ผู้ชนะรางวัลคือ…
ลู่โจว!”
มีเสียงปรบมือกึกก้องดังขึ้น
ลู่โจวลุกขึ้นท่ามกลางเสียงปรบมือและสูดหายใจเข้าลึก เขาเดินขึ้นเวทีอย่างสงบนิ่งและรับเหรียญรางวัลจากมือของศาสตราจารย์ชิเงะฟุมิ โมริ
ศาสตราจารย์ผู้นี้แตะแขนลู่โจวอย่างแผ่วเบา และเขามีรอยยิ้มเป็นมิตรบนหน้า
“ขอแสดงความยินดีด้วย เราพบกันอีกแล้ว”
วิทยาศาสตร์ประยุกต์แทบไม่เกี่ยวข้องกับโลกคณิตศาสตร์ ดังนั้น นักวิชาการอย่างก็อตเทนดิ๊กและฮาร์ดี้จึงภูมิใจที่จะบอกว่าคณิตศาสตร์ ‘บริสุทธิ์’ และ ‘เคร่งครัด’
อย่างไรเสีย วิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นหนึ่งในการประยุกต์ที่สำคัญของคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ แม้แต่นักวิชาการอย่างก็อตเทนดิ๊กก็ประยุกต์เครื่องมือในวิทยาศาสตร์ในที่สุด
รางวัลคาร์ล เฟรดดริค กอสส์ มีให้สำหรับนักวิชาการที่ประยุกต์คณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
“ขอบคุณครับ ยินดีที่ได้พบคุณอีกครั้ง” ลู่โจวจับมือกับนักวิชาการสูงวัยและพูดว่า “ผมหวังว่าเราจะพบกันอีก”
ชิเงะฟุมิ โมริหยุดนิ่งชั่วครู่และยิ้มให้
“คุณหมายถึง…พิธีมอบรางวัลอื่นเหรอ? น่าเสียดาย เราไม่มีเหรียญเหลือมากพอที่จะให้คุณ และตอนที่คุณอายุเจ็ดสิบปี ผมคงไม่อยู่ที่นี่แล้ว”
ลู่โจวพูดตอบ “แต่มันยังมีรางวัลลีลาวาทิใช่ไหมครับ?”
ชิเงะฟุมิ โมริ ไอและพูดว่า “…ให้โอกาสนักวิชาการคนอื่นบ้างเถอะ ศาสตราจารย์ลู่ เชิญลงจากเวทีครับ”
ลู่โจว “…”
รางวัลคณิตศาสตร์ชี้อิง-เฉิน เชิร์นเป็นรางวัลชั่วชีวิต และลู่โจวยังห่างไกลจากการเกษียณ แต่ว่าลู่โจวรู้สึกว่าเขามีโอกาสได้รับรางวัลเนวานลินนาสำหรับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ด้านคณิตศาสตร์ รวมไปถึงรางวัลลีลาวาทิ ซึ่งเป็นการ ‘ประชาสัมพันธ์’ ด้านคณิตศาสตร์
เขายังจำได้ว่าชาวตุรกีที่ได้รางวัลลีลาวาทิดูเหมือนจะสร้างโรงเรียนประถมหลายแห่งในพื้นที่ทะเลทรายทางไกลใช่ไหม?
เขาได้อุทิศต่อคณิตศาสตร์มากกว่าโรงเรียนประถมไม่กี่แห่ง ทำไมฉันจะไม่ได้รางวัลล่ะ?
ถึงแม้ว่าลู่โจวไม่ได้ใส่ใจเหรียญรางวัลเท่าไหร่ เขาก็รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมเล็กน้อย
หลังจากเขาลงเวที เขานั่งในที่นั่งของผู้ได้รับรางวัลคาร์ล เฟรดดริค กอสส์ และรอให้พิธีมอบรางวัลดำเนินไปอย่างเงียบๆ
รางวัลต่อไปคือรางวัลคณิตศาสตร์ชี้อิง-เฉิน เชิร์น และรางวัลลีลาวาทิ รางวัลแรกเป็นรางวัลชั่วชีวิตและรางวัลที่สองเป็นรางวัลสำหรับคน ‘ทั่วไป’ ที่ได้สร้างคุณูปการที่โดดเด่นต่อคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ต่างขั้วกัน
บรรยากาศในหอประชุมครื้นเครงกันอีกครั้งเมื่อพิธีรางวัลเหรียญฟิลด์เริ่มขึ้น
ลู่โจวนั่งอยู่ที่แถวหน้า เขาสามารถสัมผัสได้ถึงสายตาจากข้างหลังเขาที่จ้องมองเวทีกันหมด
ศาสตราจารย์ชิเงะฟุมิ โมริพูดขึ้น
วินาทีที่เขาพูด ทุกคนนิ่งตัวแข็ง
“ทฤษฎีจำนวนเป็นศาสตร์โบราณ มันอยู่มาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์ ข้อคาดการณ์โบราณยังไม่ได้ถูกแก้ไข มันเป็นจุดกำเนิดของความรู้ทั้งหมดที่เราได้เชี่ยวชาญจนถึงตอนนี้
มีไม่กี่คนที่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นได้จริงในด้านนี้ มีแค่นักรบที่กล้าหาญที่สุดที่สามารถปืนเทือกเขาตระหง่านท้าทาย
“ผู้ชนะคนแรกของรางวัลเหรียญฟิลด์คือ–
เวร่า พุลยุย จากพรินซ์ตัน!”
เสียงปรบมือกึกก้องดังขึ้นในทันที ซึ่งสะท้อนหูสองข้างของลู่โจว
เวร่า?
มันไม่ใช่ว่าเขาไม่ได้คิดถึงความเป็นไปได้นี้
แต่เขาไม่ได้คาดคิดไว้ตั้งแต่แรก
เธอเป็นนักวิชาการที่ยอดเยี่ยมจริงๆ มันไม่มีข้อกังขาว่างานวิจัยของเธอควรค่ากับการพิจารณารางวัล แต่เธออายุน้อยเกินไป
ถ้าลู่โจวจำได้ถูกต้อง เธอเรียนจบปริญญาเอกจากพรินซ์ตันตอนอายุ 22 ปี
มันผ่านมาสี่ปีแล้ว และเธออายุเพียง 26 ปี
แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้ลู่โจวตกใจไม่ใช่ข้อเท็จจริงว่าเวร่าได้รางวัล
แต่มันคือข้อความสีน้ำเงินที่ปรากฏขึ้นต่อหน้าเขา
[ขอแสดงความยินดีด้วย โฮสต์ ความสำเร็จลับถูกปลดล็อก!]
[โปรดเข้าพื้นที่ระบบเพื่อรับรางวัลของคุณ!]
………………………………………….