Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 185 ผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมาย
- Home
- Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ
- ตอนที่ 185 ผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมาย
แสงอาทิตย์สาดส่องลอดหน้าต่างเข้ามา
ลู่โจวผล็อยหลับอยู่บนโต๊ะ เขาตื่นขึ้นมาแล้วขยี้ตาอย่างงัวเงีย จากนั้นเขาก็ขยับแขนตึงๆ แล้วลุกขึ้นยืน
เขาเดินไปตรวจสอบกล้องจุลทรรศน์ดิจิตอลอย่างรวดเร็ว
ไม่มีการระเบิด ไม่มีควัน
ลู่โจวดีใจที่เห็นว่าตัวอย่างไม่บุบสลาย จากนั้นเขาก็มองดูคอมพิวเตอร์ที่อยู่ข้างๆ แล้วเลื่อนดูรูป
“สำเร็จ!”
เขากำหมัดแน่นและแทบจะกรีดร้องเสียงดัง
ตั้งแต่เมื่อวานจนถึงวันนี้ เขาได้ชาร์จไฟและปล่อยไฟไปสี่รอบ และมันก็ไม่เกิดลิเธียมเดนไดรต์!
ลิเธียมไอออนที่ไหลเข้าสู่ขั้วไฟฟ้าลบไม่ได้ก่อให้เกิดกิ่งสีขาว ภายใต้วัสดุ PDMS ชั้นเลเยอร์ที่คล้ายมอสถูกเรียงซ้อนกัน
จากข้อมูลของ BK-6808 ประสิทธิภาพของคูลอมบ์ยังคงอยู่ระดับสูงพอควร!
ผลลัพธ์เหล่านี้ทำให้ลู่โจวประหลาดใจ
ตอนแรกเขาคิดว่าวัสดุพีดีเอ็มเอสและคาร์บอนนาโนสเฟียร์ต้องถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาลิเธียมเดนไดรต์ ปรากฏว่าแค่วัสดุพีดีเอ็มเอสอย่างเดียวก็มีผลที่น่าทึ่งแล้ว
ส่วนคาร์บอนนาโนสเฟียร์ ลู่โจวเดาว่ามันเป็นการเร่งอัตราสะสมของลิเธียมไอออนและใช้เพื่อ’ดัด’รอยพับใต้วัสดุพีดีเอ็มเอส
ส่วนตรงที่เป็นจีบๆคล้ายมอส แน่นอนว่ามันส่งผลต่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ แต่อย่างน้อยมันก็ดีกว่าลิเธียมเดนไดรต์ที่อันตรายถึงตายอย่างมาก!
ถ้าไม่มีนาโนสเฟียร์ รอบการชาร์จของแบตเตอรี่จะทำให้เกิดการย่นมากขึ้น มันจะส่งผลให้รอบคูลอมบ์ลดลงและลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่
บางทีนี่อาจเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในอารยธรรมที่ก้าวล้ำ แต่บนโลก เรื่องนี้มันเล็กน้อยมาก
ตราบใดที่แบตเตอรี่ปลอดภัย ไม่ว่าบริษัทไหนก็ชอบเทคโนโลยีนี้!
บางคนอาจสามารถใช้โทรศัพท์ติดกันเป็นสัปดาห์
แน่นอนมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ อายุของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับการออกแบบชิพแบตเตอรี่ และส่วนนี้ก็อยู่นอกเหนือความเชี่ยวชาญของลู่โจว
อย่างไรก็ตามไม่ต้องสงสัยเลยว่าวัสดุแอโนดชนิดใหม่นี้จะปฏิวัติอุตสาหกรรมแบตเตอรี่!
ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมบอเรตหรือแบตเตอรี่ลิเธียมแมงกานีสโคบอลต์ กระแสไฟฟ้าลบส่วนใหญ่จะเป็นกราไฟท์ ส่วนแบตเตอรี่ลิเธียมซัลเฟอร์ที่ยังนอนนิ่งอยู่ในห้องแล็บ มันถูกลิเธียมเดนไดรต์พิชิตไปแล้ว
ดังนั้นลู่โจวรู้ว่าผลการทดลองของเขามันหมายความว่าอะไร
เขาสูดหายใจแล้วหลับตา
“ระบบ คาร์บอนนาโนสเฟียร์พวกนี้ใช้ทำอะไร?”
ระบบไม่ตอบ
เมื่อลู่โจวลืมตา เขาก็มองดูตัวอย่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์
“เป็นอย่างที่คิด…”
เป็นไปตามที่คาดไว้ เทคโนโลยีคาร์บอนนาโนสเฟียร์เกินกว่าระดับวัสดุศาสตร์ของเขา เขาไม่อาจเข้าถึงข้อมูล
แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ไม่ได้สำคัญอะไร
เขามีข้อมูลจากเศษซาก ดังนั้นเขาจึงไม่ต้องพึ่งพาระบบเพื่อแก้ปัญหา
เมื่อเขามีแล็บเป็นของตัวเอง เขาจะจ้างทีมนักวิจัยมาทำการทดลองให้เขา
ลู่โจวถอดปลั๊กพาวเวอร์ซัพพลายแล้ววางตัวอย่างแบตเตอรี่ไว้ในกล่องเล็กๆ
จากนั้นเขาก็บันทึกรูปทุกรูปจาก BK-6808 ลงในสายเชื่อมต่อและเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน เขาจึงลบข้อมูลทั้งหมดทิ้ง
ลู่โจวทำความสะอาดห้องแล็บแล้วตรวจสอบว่าตนเองไม่ลืมอะไรไว้ จากนั้นเขาก็เดินออกห้องแล็บและคืนกุญแจให้ศาสตราจารย์หวัง
เมื่อเขาก้าวออกมา เขาก็บังเอิญเจอกับรุ่นพี่เฉียน
เมื่อรุ่นพี่เฉียนเห็นลู่โจว เขาก็โบกไม้โบกมือ “ทดลองเสร็จแล้ว?”
ลู่โจวยิ้ม “เสร็จแล้วครับ”
จู่ๆเขาก็นึกถึงอะไรบางอย่าง “เอ้อ รุ่นพี่กำลังศึกษาวัสดุอิเล็กโทรดใช่ไหม?”
ปีก่อนตอนที่ลู่โจวช่วยศาสตราจารย์หลี่ เขาได้ยินว่าปีนี้พวกเขาจะทดลองวัสดุอิเล็กโทรดกัน
“ใช่” รุ่นพี่เฉียนพยักหน้าแล้วตอบ จากนั้นเขาก็ถามด้วยรอยยิ้ม “สนใจไหม?”
ลู่โจวตอบด้วยคำถามแทน “โปรเจกต์วิจัยเกี่ยวกับอะไร?”
รุ่นพี่เฉียนตอบ “วัสดุอิเล็กโทรดขั้วบวกของแบตเตอรี่ลิเธียมซัลเฟอร์ ผลการวิจัยล่าสุดของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์พบว่าซัลเฟอร์ทำให้วัสดุคาร์บอนที่มีรูพรุนระดับนาโนคงที่เป็นวัสดุอิเล็กโทรดขั้วบวก และมันช่วยลดการเติบโตของลิเธียมเดนไดรต์ของขั้วไฟฟ้าลบ ฉันพูดต่อไม่ได้ เพราะฉันเซ็นสัญญารักษาความลับไว้ ถ้านายสนใจ ศาสตราจารย์หลี่ยินดีรับนายเข้าร่วมทีมแน่นอน”
“ไม่เป็นไรครับ ไม่ว่ายังไงศาสตราจารย์หรูก็คงไม่พอใจที่ผมไปทำการทดลอง” ลู่โจวกล่าวด้วยรอยยิ้ม “นอกจากนี้ผมไม่คิดว่านี่เป็นตัวเลือกที่ดีเท่าไหร่…ผมอ่านวิทยานิพนธ์ที่รุ่นพี่พูดถึงแล้ว เพราะผมทำการทดลองที่คล้ายๆกัน…”
ลู่โจวพูดต่อ “…ผมคิดว่าถ้าการค้นพบมันสำคัญมากขนาดนั้น ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์คงไม่ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ง่ายขนาดนี้หรอก”
เทคโนโลยีที่เผยแพร่ได้ไม่สามารถจดสิทธิบัตร เพราะมันขัดแย้งกับกฎหมายสิทธิบัตรสากล
ปกติแล้วห้องแล็บเหล่านี้จะมีการลงทุนกับผู้ประกอบการ (ส่วนใหญ่เป็นวิศวกรรม) ปกติมักจะลงทะเบียนผลการวิจัยก่อนแล้วจดสิทธิบัตร จากนั้นค่อยตีพิมพ์วิทยานิพนธ์
การตีพิมพ์ลงวารสารง่ายๆนั้นไม่น่าเชื่อถือ และเหตุการณ์คล้ายๆกันนี้ก็เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
ในปี 2011 กลุ่มวิจัย L-Archer ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลได้ตีพิมพ์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับแบตเตอรี่อะลูมิเนียมไอออน พวกเขาเสนอโมเดลแบตเตอรี่ที่มี Al เป็นขั้วไฟฟ้าบวกของ V205 ซึ่งเคยถูกใช้เป็นโมเดลแบตเตอรี่ ‘ความก้าวหน้า’นี้ออกข่าวอย่างกว้างขวางและกระทั่งถูกรายงานโดยวารสาร’วิทยาศาสตร์’ชื่อดัง
อย่างไรก็ตามผลลัพธ์สุดท้ายไม่เป็นที่น่าพอใจ
ในการประชุม MRS1 คนจากคาร์เนลถูกโจมตีโดยคนที่ชื่อว่าลุค รี้ด…
ลู่โจวไม่รู้ว่าผลลัพธ์ของ MIT ถูกต้องไหม แต่เขารู้ว่าแคโทดไม่มีทางยับยั้งการเติบโตของลิเธียมเดนไดรต์ได้เลย
เขารู้เรื่องนี้ เพราะเขาแก้ปัญหานี้ได้แล้ว
เขากระทั่งจะไปจดสิทธิบัตร
รุ่นพี่เฉียนส่ายหน้า “เรายังจะทำการทดลองเพื่อที่จะดูว่ามันเป็นยังไง”
ลู่โจวถอนหายใจ “งั้น…ผมขอให้รุ่นพี่โชคดี”
เขาไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้อีก
ต่อให้เขาพูดต่อก็คงไม่มีใครเชื่อ แถมมันอาจทำให้คนอื่นขุ่นเคืองอีก ยิ่งกว่านั้นยังมีหลายสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้
เขาทำได้แค่เตือน
อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้กังวลนัก เขาสงสัยว่าหลังเขาตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ไป ศาสตราจารย์หลี่จะพูดว่าไง
เขาสามารถจดสิทธิบัตรในปีหน้า และหลังจากนั้นเขาก็จะได้เริ่มเขียนวิทยานิพนธ์
พอถึงตอนนั้นเขาคงอยู่พรินซ์ตันแล้ว
บางทีตอนนั้นศาสตราจารย์หลี่อาจยอมแพ้โปรเจกต์วิจัยนี้ไปแล้วก็ได้
………………………………….