Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 436 ปัญหาของเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์ (รีไรท์)
- Home
- Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ
- ตอนที่ 436 ปัญหาของเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์ (รีไรท์)
เมื่อวิทยานิพนธ์ต้นฉบับถูกส่งข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังอีเมลของศาสตราจารย์แคริเบอร์แล้ว การประชุมสุดจริงจังก็พลันถูกจัดขึ้นในหอประชุมของห้องทดลองเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์
บุคคลที่นั่งอยู่ที่นี่ก็มีศาสตราจารย์แกนเซอร์ เฮซิงเกอร์ ผู้อำนวยการของสถาบันมักซ์พลังค์ หัวหน้าของสมาคมเฮล์มโฮลทซ์จากศูนย์วิจัยเยอรมันและเหล่านักวิชาการอีกมากมาย
ถ้าศาสตราจารย์เลเซอร์สันยังไม่ลาออกไป เขาก็คงได้นั่งอยู่ตรงนี้ด้วย
เนื่องจากเทคโนโลยีเทคโนโลยีอะตอมโพรบฮีเลียมสามนั้นมีบทบาทสำคัญและเติบโตมากขึ้นในการศึกษาพลาสมา ของทีมโครงการอะตอมโพรบฮีเลียมสามเองก็เติบโตขึ้นเช่นกัน
แต่ทว่า คนที่กำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมแห่งนี้กลับไม่ใช่ศาสตราจารย์เลเซอร์สัน แต่เป็นผู้ช่วยของเขา เฟิร์น บูชเชอร์ ซึ่งเป็นชายที่อายุเพียงสามสิบปีเท่านั้น เนื่องจากต้องนั่งข้างคนใหญ่คนโต ท่าทีของเด็กใหม่ก็ดูจะแปลกไปเล็กน้อย อันที่จริง เขาไม่กล้าแม้แต่จะพูดในที่ประชุมเลยด้วยซ้ำ
เหตุใดบรรยากาศการประชุมถึงเคร่งเครียดเช่นนี้…
นั่นเป็นเพราะเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว
เมื่อเดือนที่แล้ว เวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์ได้ถูกนำไปติดตั้งกับไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำ
เดิมที ตามแผนการของสถาบันสถาบันมักซ์พลังค์ ไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำจะถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องอุณหภูมิของห้องปฏิบัติการ
แต่ทว่า ผลลัพธ์ของมันไม่ได้เป็นอย่างที่คาดคิดเอาไว้
เมื่อพลาสมาอุณหภูมิหนึ่งร้อยล้านองศาถูกกักขังภายในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำก็จะต้องมีประโยชน์อย่างแน่นอน แต่ทว่า อุณหภูมิของผนังชั้นแรกนั้นกลับสูงกว่าที่การคาดการณ์
เนื่องด้วยพลังงานความร้อนจำนวนมหาศาลนี้ไม่สามารถควบคุมได้นี้ อุณหภูมิของวัสดุผนังชั้นแรกจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ และสุดท้าย มันจะค่อย ๆ ไปส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของเส้นทางโคจรของสเตลลาเรเตอร์
เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อันตราย เจ้าหน้าที่จึงต้องปิดอุปกรณ์ทุกชนิดและยุติการทดลองก่อนกำหนด
ท้ายที่สุดแล้ว ทันทีที่ติดตั้งไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำสำเร็จ ไดเวอร์เตอร์ก็สามารถรักษาพลาสมาที่มีอุณหภูมิสูงได้เพียงหกนาทีเท่านั้น
เมื่อเทียบกับเครื่องโทคาแมคตามทิศทางของการวิจัยหลักสากลแล้ว มันถือเป็นผลลัพธ์ที่ค่อนข้างน่าพอใจไม่น้อย
แต่สำหรับเครื่องสเตลลาเรเตอร์แล้ว ความสำเร็จนี้ถือเป็นความล้มเหลวอย่างไม่ต้องสงสัย
ศาสตราจารย์แคริเบอร์พลันมองไปยังงานวิจัยในมือ เขาต้องเผชิญหน้ากับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มาร่วมนั่งโต๊ะประชุมพร้อมกับสรุปรายงาน
“ไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำถูกติดตั้งเสร็จแล้ว แต่ปัญหาในตอนนี้ก็คือข้อจำกัดของพลาสมายังไม่สมบูรณ์ตามที่เราคาดการณ์เอาไว้”
“อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้มา เริ่มตั้งแต่วินาทีที่สองร้อยยี่สิบเจ็ด… พลาสมาที่ยังคงไม่เกาะติดกับผนังชั้นแรกนั้นกลายเป็นสาเหตุหลักของการสะสมความร้อน ท้ายที่สุด มันทำให้ความร้อนสะสมนั้นมีมากเกินกว่าที่จะถูกทำให้เย็นลงด้วยไดเวอร์เตอร์”
หลังจากได้ฟังรายงานของแคริเบอร์แล้ว ศาสตราจารย์เอดอร์จากสมาคมเฮล์มโฮลทซ์พลันกล่าวคำพูดออกมา “หมายความว่ายังไงกันที่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อน? เราควบคุมพลาสมาไม่ได้งั้นรึ?”
แม้ว่าห้องปฏิบัติการเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์เป็นของสถาบันมักซ์พลังค์ แต่การออกแบบภายในของเครื่องสเตลลาเรเตอร์นั้นถูกสร้างร่วมกันโดยสถาบันมักซ์พลังค์และสมาคมเฮล์มโฮลทซ์จากศูนย์วิจัยเยอรมัน
ในฐานะองค์กรวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเยอรมนีรองจากสมาคมมักซ์พลังค์ สมาคมเฮล์มโฮลทซ์นั้นยังคงมีหลายเรื่องที่ต้องการจะพูดเกี่ยวกับพลังงานฟิวชัน
“มันไม่ได้อยู่เหนือการควบคุมครับ แต่มันเป็นความพิเศษตามธรรมชาติของพลาสมา แม้แต่พลังงานจากดวงดาวก็ไม่สามารถทำให้อนุภาคพลาสม่าโคจรรอบแทร็กได้ มันจะมีพลาสม่าอยู่สองสามตัวที่มักจะชนผนังอยู่เสมอ แต่มันก็อยู่ในขอบเขตของข้อผิดพลาดที่ยอมรับได้” แคริเบอร์พลันตอบกลับ
ศาสตราจารย์เอดอร์พลันขมวดคิ้ว “แค่อนุภาคไม่กี่ตัว?”
“มันก็แค่การคาดเดาน่ะครับ แน่นอนว่าผมระบุจำนวนที่เฉพาะเจาะจงไม่ได้หรอก ผมบอกได้แค่ว่าถ้าเอาไปเทียบกับเครื่องโทคาแมค เราเองก็ทำได้ดีมากแล้วในแง่ของข้อจำกัดของสนามแม่เหล็ก” แคริเบอร์กล่าว
เมื่อเห็นว่าทั้งสองไม่ลงรอยกัน ศาสตราจารย์เฮซิงเกอร์จึงกระแอมและขัดจังหวะการโต้เถียงระหว่างทั้งคู่
“ตอนนี้เรารู้ถึงปัญหาแล้ว แทนที่จะมาทะเลาะกัน เราควรที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาสิ”
ทันทีที่ทั้งคู่หยุดพูด ศาสตราจารย์เฮซิงเกอร์ก็กล่าวคำพูดต่อ
“ตอนนี้เรามีสองทางแก้ หนึ่งคือต้องเปลี่ยนรูปแบบการควบคุม และสองคือต้องเปลี่ยนระบบระบายความร้อน”
พวกเขาต้องเลือกระหว่างการลดพลาสมาบนผนังชั้นแรกด้วยการควบคุมสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้แม่นยำมากขึ้น หรือการเปลี่ยนไดเวอร์เตอร์ให้มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนให้มากขึ้น…
“การปรับปรุงรูปแบบการควบคุมเป็นเรื่องที่ยากมาก” ศาสตราจารย์แคริเบอร์ส่ายหัว “ถ้ามีวิธีการแก้ไขที่ดีกว่านี้ เราก็คงจะใช้มันไปแล้ว”
บูชเชอร์ ผู้ที่ไม่มีโอกาสพูดเลยก็พยายามที่จะพูดแทรกขึ้น “แล้วถ้าเปลี่ยนไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนแทนล่ะครับ?”
“ใช้ไม่ได้หรอก แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว แต่มันก็เป็นไปไม่ได้อยู่ดี” ศาสตราจารย์เฮซิงเกอร์ส่ายหัว “กุญแจสำคัญของปัญหาในตอนนี้คือเราต้องให้เกียรติสิ่งที่เราเคยทำสำเร็จไปแล้ว เราเหลือเวลาอีกแค่ไม่เกินสองปีนะ”
บรรยากาศในห้องประชุมค่อนข้างตึงเครียด ทุกคนแทบจะไม่ได้พูดอะไรออกมา
ดังที่ศาสตราจารย์เฮซิงเกอร์กล่าว… เวลาเป็นกุญแจสำคัญของทุกสิ่ง
ไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนไม่ใช่ตู้เย็น มันเป็นโครงการระดับเล็ก แต่ละขั้นตอนนั้นก็ยากเป็นพิเศษ การประกอบขึ้นใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย นับประสาอะไรกับการออกแบบอุปกรณ์
ในช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมา พวกเขาจะต้องใช้เวลาทั้งหมดสามปีในการติดตั้งไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำลงบนเวนเดลสไตน์เซเว่นเอ็กซ์
ทว่า ตอนนี้เหลือว่าอีกแค่สองปีเท่านั้น พวกเขาไม่มีเวลาออกแบบและประกอบไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนด้วยน้ำได้ทันแน่
อันที่จริง การกำหนดเวลาที่เฉพาะเจาะจงกับวิทยาศาสตร์ถือเป็นเรื่องที่โง่เขลาไม่น้อยเลย
แม้แต่คนที่มีความชำนาญมากที่สุดในสาขาใดสาขาหนึ่งก็ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าเทคโนโลยีชิ้นหนึ่งจะต้องใช้เวลาสร้างนานเท่าใด
มันอาจจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ หรืออาจจะผิดพลาดไปเลยก็ได้
แต่ทว่า ถ้าพวกเขาไม่กำหนดเวลาเช่นนี้ ก็คงจะไม่มีใครมาลงทุนกับพวกเขาแน่
…
ณ เวลาเที่ยงตรง การประชุมถูกยุติชั่วคราว การประชุมถูกเลื่อนไปเป็นตอนช่วงบ่ายสอง
แคริเบอร์กำลังนั่งอยู่ในร้านอาหารชั้นหนึ่งของห้องทดลอง เขาสั่งกาแฟมาหนึ่งแก้วและนั่งริมหน้าต่างพร้อมเปิดแล็ปท็อปเพื่อทำงาน เขามักจะเปิดดูกล่องอีเมลที่ไม่ได้อ่านอยู่เป็นประจำ
“คำเชิญตรวจสอบวิทยานิพนธ์?”
ทันทีที่มองไปยังอีเมลในกล่องจดหมาย คิ้วของแคริเบอร์ก็กระตุกด้วยความสนใจ
อันที่จริง เขาไม่ใช่นักฟิสิกส์พลาสมา เขาเป็นวิศวกรที่คอยจัดการเรื่องพลังงานพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันต่างหาก
นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับเครื่องโทคาแมคแล้ว เครื่องสเตลลาเรเตอร์นั้นได้รับความนิยมน้อยกว่าอีก อีกทั้ง สถาบันการวิจัยส่วนมากก็ไม่ถนัดเรื่องนี้ด้วย
ครั้งสุดท้ายที่เขาได้รับคำเชิญให้ตรวจสอบวิทยานิพนธ์คือเมื่อห้าปีที่แล้ว
อันที่จริง เขาไม่อยากเสียเวลาพักการประชุมเพื่ออ่านวิทยานิพนธ์นักหรอก แต่ทว่า ขนาดแคริเบอร์เองก็ยังทนความอยากรู้อยากเห็นของตนเองไม่ได้ เขาพลันเปิดวิทยานิพนธ์ขึ้นมาในทันใด
แม้ว่าเขาจะไม่ใช่นักฟิสิกส์พลาสมา แต่เขาก็ทำงานอยู่ในสถาบันมักซ์พลังค์ เขาไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่เป็นทฤษฎีเลยแม้แต่น้อย ทว่า… เขาเองก็ยังคงมีความสามารถในการตรวจทานวิทยานิพนธ์ต้นฉบับอยู่
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เรื่องความปั่นป่วนของพลาสมา?
ทันทีที่เห็นบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์ คิ้วของศาสตราจารย์แคริเบอร์ก็กระตุกอีกครั้ง
แบบจำลองเชิงปรากฏการณ์วิทยา?
เขาเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
หลังจากที่ได้อ่านบทคัดย่อแล้ว ศาสตราจารย์แคริเบอร์ก็ไปอ่านที่ส่วนหลักต่อ ทว่า ทันทีที่เขาเห็นสูตรการคำนวณที่เกินขอบเขตความเข้าใจ คิ้วของเขาก็พลันกระตุกอีกครั้งในทันที
ในฐานะวิศวกร ความรู้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ถึงอย่างไร สูตรในรายงานเหล่านี้ยังคงอยู่นอกเหนือขอบเขตความรู้ของตน และนั่นทำให้เขารู้สึกมึนงงไม่น้อย
แค่สร้างแบบจำลองปรากฏการณ์วิทยาขึ้นมา มันจำเป็นต้องใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนขนาดนี้เลยหรือ?
ระหว่างที่ศาสตราจารย์แคริเบอร์กำลังสับสน ภาษาที่ใช้บรรยายในวิทยานิพนธ์ก็พลันช่วยให้เขาเข้าใจและทำให้นึกถึงใครคนหนึ่ง
ทันทีที่เขาพลันมองไปยังชื่อของผู้เขียน แคริเบอร์ก็ถึงกับอ้าปากค้าง
ผู้ชายคนนี้…
ศาสตราจารย์แคริเบอร์ที่กำลังส่ายหัวเผยรอยยิ้มและยอมแพ้ให้กับสูตรที่ซับซ้อนตรงหน้า เขาพลันเลื่อนไปอ่านตรงส่วนบทสรุป
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์แคริเบอร์ก็ยอมรับว่าตอนแรกเขาไม่เห็นด้วยกับกับวิทยานิพนธ์
แต่ยิ่งอ่านมากขึ้นเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งจริงจังมากขึ้นเท่านั้น
ทันใดนั้น เขาก็เผยยิ้มและหยิบโทรศัพท์ออกมา
“ไอเกอร์… เดี๋ยวฉันจะส่งวิทยานิพนธ์ไปให้ ฝากพิมพ์ออกมาที”
ไอเกอร์เป็นผู้ช่วยของศาสตราจารย์แคริเบอร์ที่มักจะรับผิดชอบในงานเบ็ดเตล็ดประจำวันส่วนใหญ่ เช่น การจัดตารางเวลาและเอกสาร
โดยปกติแล้ว วิทยานิพนธ์ที่ยังไม่ได้รับการเผยแพร่นั้นไม่ควรส่งให้บุคคลทั่วไปอ่าน แต่หากมันเป็นเพียงการสื่อสารภายใน มันก็ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
ท้ายที่สุดแล้ว สำหรับผู้วิจารณ์ทั้งหลาย หากพวกเขาได้อ่านวิทยานิพนธ์ต้นฉบับและยังไม่เข้าใจ มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนที่มีความรู้และชื่อเสียงทางวิชาการ
“โอเคครับ ต้องการให้พิมพ์ออกมาทั้งหมดเท่าไหร่ครับ?” ไอเกอร์กล่าว
“ตอนบ่ายมีประชุมกี่คน ก็พิมพ์ตามจำนวนนั้นแหละ!”
…………………………………………………….