Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 441 อุปสรรคของราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (รีไรท์)
- Home
- Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ
- ตอนที่ 441 อุปสรรคของราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (รีไรท์)
ถ้าลู่โจวสามารถแก้ปัญหานิวเคลียร์ฟิวชั่นแบบควบคุมได้ เขาก็จะมีสถาบันวิจัยเป็นของตัวเอง แต่อันที่จริง ลู่โจวเองก็จะได้รับผลประโยชน์ที่ดีกว่านี้
ท้ายที่สุดแล้ว จีนก็เป็นประเทศที่สามารถปรับตัวและดึงดูดผู้มีความสามารถระดับนานาชาติได้ ซึ่งเป็นถึงหนึ่งในประเทศที่มีความสำคัญสูงสุด
วันเวลาผ่านไป ใกล้จะถึงเดือนตุลาคมแล้ว ฟิสิกส์นั้นไม่ใช่แค่สาขาเดียวที่ให้ความสนใจลู่โจว แต่คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเคมีในสตอกโฮล์มก็ให้ความสนใจกับเขาเช่นกัน
ภายในอาคารวิจัยของราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน
โอลอฟ รามสโตรมกำลังอ่านวิทยานิพนธ์อยู่บนโต๊ะทำงาน
ปีเตอร์ เบรเซซินสกี้เองก็ได้เข้าร่วมการประชุมด้วย เขามองไปยังวิทยานิพนธ์ในมือของเพื่อนร่วมงานและกล่าวคำพูด “ฟิสิกส์งั้นเหรอ? ดูเหมือนคุณจะมีส่วนร่วมไปเสียหมดจริง ๆ เลยนะ”
“ฉันไม่ได้เก่งเรื่องฟิสิกส์สักหน่อย แต่ดูเหมือนว่าวิทยานิพนธ์นี้จะทำให้แวดวงฟิสิกส์วุ่นวายไปหมดเลยล่ะ ฉันเองก็ได้ยินอาจารย์หลายคนพูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน เลยไปขอทำสำเนามาอ่านบ้างน่ะ”
และสำหรับสูตรคณิตศาสตร์ที่ระบุไว้ในกระดาษ โอลอฟต้องไม่เข้าใจแน่
แต่ถึงอย่างไร สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกท้อใจเลย มันดูจะเป็นวิทยานิพนธ์ที่น่าดึงดูดไม่น้อย
ปีเตอร์ยังคงจ้องกระดาษสักพัก และกล่าวออกมาด้วยน้ำเสียงไม่แน่ใจ “ลู่โจว?”
“ใช่ นี่แหละสิ่งที่ทำให้ฉันปวดหัว” เพียงชั่วครู่ โอลอฟก็พูดต่อด้วยน้ำเสียงขบขัน “บางที เขาอาจจะได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีหน้าก็ได้นะ”
ทั้งนี้ โอลอฟ รามสโตรมก็เป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีอินทรีย์จากสถาบันเทคโนโลยี แถมเขายังเป็นนักวิชาการจากราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน และเป็นชายที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2018 อีกด้วย
ปีเตอร์ เบรเซซินสกี้ เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม นอกจากนี้ เขายังเป็นหนึ่งในนักวิชาการจากราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนและเป็นสมาชิกคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้เช่นกัน
ช่วงเดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการรางวัลโนเบลต่างก็ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการถกเถียงกันเรื่องลู่โจว พวกเขาจัดการประชุมกันอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้ข้อตกลงกันเสียที
สิ่งที่น่าสนใจคือการถกเถียงนั้นไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของลู่โจว เพราะทุกงานวิจัยที่ลู่โจวเคยสร้างสรรค์มานั้นล้วนเป็นผลการวิจัยที่ยอดเยี่ยมทั้งหมด
นอกจากนี้ ความสำเร็จของลู่โจวยังเหนือกว่าหลายสิ่งหลายอย่างอีกด้วย
เมื่อปีที่แล้ว เขาได้สร้างแบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างส่วนต่อประสานไฟฟ้าเคมี ซึ่งมันก่อให้เกิดหลายสิ่งมากมายในสาขาเคมี ทั้งในด้านการคำนวณเคมี ด้านพื้นผิว และด้านฟิสิกส์ของสารควบแน่น
ถึงกระนั้น รางวัลโนเบลก็ไม่ใช่รางวัลธรรมดา คณะกรรมการต้องพิจารณาในด้านอื่น ๆ ด้วย
แม้ว่าลู่โจวจะประสบความสำเร็จและสร้างสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่ก็ยังมีคนอื่นอีกมากมายที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
หลายคนรอมานานหลายสิบปีเพื่อคว้ารางวัลนี้ และสำหรับบางคน พวกเขาก็รอมาทั้งชีวิต…
ความคิดเห็นของสมาชิกคณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาเคมีนั้นมีความแตกต่างกันมาก บางคนคิดว่าเขาอายุน้อยและงานวิจัยนั้นก็น้อยประสบการณ์ แต่บางคนคิดว่าอายุไม่ใช่เหตุผลที่จะละเลยความสำคัญของผลลัพธ์ได้
ตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์โอลอฟ เขาเชื่อว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข
ในความคิดของเขา วัสดุพีดีเอ็มเอสที่ได้รับการแก้ไขและ HCS-1 ต่างก็เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ท้ายที่สุดแล้ว ผลลัพธ์ทั้งสองนี้ต้องได้รับการพิสูจน์ผ่านการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอยู่ดี ทว่า ในความเห็นของเขา “แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างส่วนต่อประสานไฟฟ้าเคมี” นั้นมีส่วนช่วยอย่างมากอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
ในช่วงปีที่ผ่านมา นักวิชาการจำนวนมากได้สร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าโดยใช้แบบจำลองทางทฤษฎีของลู่โจว
มันคงไม่ใช่เรื่องเวอร์เกินไปเลยที่จะกล่าวว่าแบบจำลองทางทฤษฎีของลู่โจวนั้นได้กำหนดทุกอย่างและเปิดแนวคิดการวิจัยใหม่ ๆ สำหรับสาขาเคมีเชิงคำนวณเอาไว้หมดแล้ว
“รางวัลโนเบลสาขาเคมีปี 2017 ถูกมอบให้แก่นักวิชาการด้านกล้องจุลทรรศน์ไครโออิเล็กตรอน การศึกษากลไกการซ่อมแซมดีเอ็นเอเองก็เป็นสิ่งที่สถาบันแคโรลินสกาพิจารณามานานแล้ว ถ้าเราไม่พิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง มีหวังรางวัลโนเบลสาขาเคมีถูกเปลี่ยนชื่อเป็นรางวัลชีววิทยาแทนแน่”
เมื่อได้ยินประโยคนี้ ศาสตราจารย์ปีเตอร์ที่อยู่ในสาขาชีวเคมีก็พลันกระแอมออกมา
“ไม่ใช่อย่างนั้นสักหน่อย ชีวเคมีก็เป็นส่วนหนึ่งของเคมีเหมือนกัน… อีกอย่าง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเองก็ไม่ได้อยู่ในสาขาชีววิทยาด้วย นายคิดว่ามันนับเป็นเคมีวิเคราะห์ไหมล่ะ?”
โอลอฟส่ายหัวและพูดว่า“ ไม่ต้องมาพูดแบบนั้นเลย เราทุกคนรู้ว่าอุตสาหกรรมไหนบ้างที่ได้รับผลกระทบ”
ถึงอย่างไร ทุกคนก็รู้ดีว่าสิ่งนี้ไม่ยุติธรรมสำหรับนักเคมีเลย
ท้ายที่สุดแล้ว นักชีววิทยาเองก็อยากที่จะได้รับรางวัลโนเบลเช่นกัน
ในตอนนี้ แม้แต่กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนก็ยังทำให้ทั้งสาขาเคมีโกลาหลได้
ปีเตอร์มองไปยังเพื่อนเก่าแล้วถอนหายใจ
“ฉันเข้าใจนายนะ งานของเขาในสาขาเคมีพื้นผิวนั้นโดดเด่นมาก ทุกคนเองก็รู้ แต่หลังจากนั้นไม่นาน ศาสตราจารย์หลายคนของสถาบันมักซ์พลังค์ก็ได้มาแลกเปลี่ยนมาเห็นกัน แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะคิดว่าลู่โจวน้อยประสบการณ์ไปหน่อย…”
โอลอฟโต้กลับ “แล้วยังไงล่ะ? นายไม่คิดถึงเทคโนโลยีบ้างหรือยังไงกัน?”
“ก็เพราะแบบนั้นไง นั่นเป็นสาเหตุที่การมอบรางวัลในปีนั้นก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมากมาย แต่นั่นไม่เป็นประเด็นเลย ปัญหาคืออายุของเขาต่างหากล่ะ” ปีเตอร์ส่ายหัว “ผู้ท้าชิงอายุยี่สิบสี่ปี… ถ้าเขาได้รับรางวัลโนเบล เขาก็จะเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัยเลยล่ะ”
ก่อนหน้านี้ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุดคือลอว์เรนซ์ ปราก เขาอายุยี่สิบห้าปี
แม้ว่ากฎของโนเบลจะไม่ได้ระบุว่าผู้ชนะต้องอายุกี่ปี แต่ทุกคนก็ไม่พอใจที่จะฝ่าฝืนกฎและสร้างสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์อยู่ดี
นอกเสียจากว่าเขาจะยอดเยี่ยมเสียจนไม่มีที่ติอันใดเลย
ถึงอย่างไร ปัญหานี้ก็ยากจะตัดสินใจ เว้นแต่จะมีนักวิชาการสาขาเคมีพื้นผิวอยู่ท่ามกลางคณะกรรมการมอบรางวัลโนเบลที่สามารถให้คะแนนผลงานของลู่โจวอย่างอย่างเป็นกลางได้…
แต่น่าเสียดายที่ในบรรดาสมาชิกเหล่านั้น ไม่มีใครที่เป็นนักวิชาการสาขาเคมีพื้นผิวเลย
อันที่จริง โอลอฟกำลังลังเลอยู่ว่าตนคิดถูกหรือไม่
เขารู้สึกว่ารางวัลโนเบลนี้ต้องพิจารณาจากผลงานเคมีบริสุทธิ์
หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง พวกเขาก็ควรให้รางวัลแก่ผู้สร้างแบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างส่วนต่อประสานไฟฟ้าเคมีท้ายที่สุดแล้ว การสร้างทฤษฎีเคมีที่สำคัญเช่นนี้ในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดก็เป็นเรื่องยากมาก…
……………………………………………
Comments for chapter "ตอนที่ 441 อุปสรรคของราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (รีไรท์)"
MANGA DISCUSSION
Leave a Reply Cancel reply
This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.
Blackboy
วอสมีอะไรต้องลังเล