Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 443 พลังงานฟิวชันเริ่มต้นจากสภาพความนำยิ่งยวด (รีไรท์)
- Home
- Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ
- ตอนที่ 443 พลังงานฟิวชันเริ่มต้นจากสภาพความนำยิ่งยวด (รีไรท์)
ช่วงเวลาผ่านไปจนใกล้สิ้นเดือน เหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นในชุมชนคณิตศาสตร์ไม่เพียงแต่จะแพร่กระจายไปทั่วแวดวงวิชาการทั้งหมดเท่านั้น แต่มันยังแพร่กระจายไปจนถึงสถาบันการศึกษาอีกด้วย
ฮาร์ดีพลันนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ที่สถาบันการศึกษาขั้นสูง เขากำลังค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมอยู่ ทว่า ระหว่างที่เขากำลังอ่านข่าวเรื่องหนึ่งอยู่ ฮาร์ดีก็พลันตกตะลึง
ด้วยความประหลาดใจ เขาเกือบจะตะโกนออกมาเสียงดัง
“ศาสตราจารย์ ข้อคาดการณ์ของรีมันน์ถูกแก้ไขแล้วเหรอครับ?!”
“ว่าไงนะ?”
ฮาร์ดี้กล่าวคำพูดออกมาอย่างตื่นเต้นราวกับเขาเพิ่งจะค้นพบทวีปใหม่ “ผมอ่านเจอใน Mathoverflow น่ะ เค้าบอกว่าเซอร์ไมเคิล อาทียาห์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของประเทศอังกฤษอ้างว่าข้อคาดการณ์ของรีมันน์ได้รับการพิสูจน์แล้ว มันถูกพิสูจน์ด้วยวิธีที่ง่ายมาก แถมกำลังจะเอาเรื่องนี้ไปเสนอกับไฮเดลเบิร์กด้วย”
Mathoverflow เป็นเว็บไซต์คณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายต่อหลายคนต่างก็มีบัญชีของตนอยู่ในนั้น ตัวอย่างเช่น เถาเซวียนเจ๋อเองก็กำลังใช้เว็บไซต์นี้อยู่ มีการใช้งานบนเว็บไซต์ เขาคอยอัปเดตบล็อกของตนเองและตอบโต้ผู้เยี่ยมชมอยู่เป็นประจำ
ทันทีที่ลู่โจวได้ยินคำพูดของฮาร์ดี้ เขาก็เผยยิ้มและกล่าวคำพูดด้วยน้ำเสียงกึ่งติดตลกกึ่งจริงจัง
“ถ้าเขาพิสูจน์ได้ เขาก็จะกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษเลยล่ะ”
ฮาร์ดี้กล่าว “แล้วอาจารย์คิดว่าพิสูจน์ได้งั้นเหรอ?”
ลู่โจวไม่ได้ตอบคำถามโดยตรง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเขาแค่แสดงความคิดเห็นเท่านั้น
“เซอร์อาทียาห์ก็ถือเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่โดดเด่น แถมเขายังเป็นผู้ชนะรางวัลอาเบลแล้วก็เหรียญฟิลด์อีกด้วย แต่เขาก็อายุแปดสิบเก้าปีแล้วล่ะ… ฉันว่ามันก็เชื่อยากเหมือนกันแหละ”
อันที่จริง เซอร์อาทียาห์ไม่ใช่นักวิชาการคนแรกที่อ้างว่าพิสูจน์ข้อคาดการณ์ของรีมันน์ได้
ในราวปี 2004 ศาสตราจารย์ด้านทฤษฎีตัวเลขที่ชื่อเดอบร็องส์เคยอ้างว่าตนสามารถแก้ไขข้อคาดการณ์ของรีมันน์ได้ เขาทำให้ทุกอย่างพลันโกลาหล แต่น่าเสียดายที่ชุมชนคณิตศาสตร์ไม่ได้ยอมรับเพราะหลักฐานไม่มากพอ
แม้ก่อนหน้านั้น นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อจีเอชฮาร์ดี้ก็เคยประกาศว่าสามารถพิสูจน์ได้แล้วเช่นกัน
ฮาร์ดีลังเลเล็กน้อยก่อนที่จะพูดขึ้น “แต่ เขาคือเซอร์อติยาห์เลยนะครับ เขาเป็นถึงผู้ได้รับรางวัลรางวัลอาเบลแล้วก็เหรียญฟิลด์เลยนะครับ ถ้าไม่รู้จริง เขาก็คงไม่มีทางออกมาพูดหรอกใช่ไหม?”
ทันทีที่ลู่โจวได้ยินเช่นนั้น เขาจึงเผยยิ้ม “โธ่… ฮาร์ดี้ ถ้านายต้องการที่จะเป็นนักวิชาการในอนาคต ก็จำเอาไว้เลยว่ารางวัลเป็นเพียงเครื่องมือที่แสดงถึงเกียรติยศเท่านั้น มันไม่ได้มีอะไรมากเลย อีกอย่าง เนื่องจากชุมชนคณิตศาสตร์เคยให้รางวัลกับเขาแล้ว เขาจึงต้องรอบคอบเป็นพิเศษในการตอบคำถามของผู้คนที่สงสัย อย่างที่ยอก คนที่ตั้งคำถามก็ไม่ควรถูกมองว่าเป็นคนโง่หรอกนะ”
เมื่อเห็นว่าฮาร์ดี้กำลังจะถาม ลู่โจวจึงพูดต่อทันที
“แทนที่จะพูดเรื่องข้อคาดการณ์ของรีมันน์ ฉันอยากรู้ความคืบหน้าของเซอร์อาทียาห์เรื่องทรงกลมหกมิติที่ซับซ้อนของรีมันน์มากกว่าอีก”
“ทรงกลมหกมิติที่ซับซ้อนของรีมันน์?”
ลู่โจวพยักหน้าและกล่าวคำพูด “มันเป็นปัญหาโทโปโลยีเกี่ยวกับพีชคณิตที่กังมากเลยล่ะ มันเกี่ยวข้องกับทฤษฎี K ถึงมันจะไม่ใช่ปัญหาระดับรางวัลมิลเลนเนียม แต่มันก็ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาโทโปโลยีที่เกี่ยวข้องกับพีชคณิตที่สำคัญที่สุดเลยล่ะ อย่างเมื่อประมาณ 16 ปีที่แล้ว เซอร์อาทียาห์ก็ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไงก็เถอะ วิทยานิพนธ์ของเขายังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่ หลักฐานที่จัดหามามีความยาวเพียงครึ่งหน้ากระดาษเอง แถมส่วนอื่นในวิทยานิพนธ์ก็เอาแต่พูดถึงประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ด้วย…”
ลู่โจวเงียบไปชั่ววินาทีและยักไหล่ “อีกอย่าง เขาก็ไม่เคยตอบข้อสงสัยในวิทยานิพนธ์ของตัวเองเลย เพราะแบบนั้นแหละ ชุมชนวิชาการเองก็ยังคงสงสัยเรื่องนี้อยู่”
วิทยานิพนธ์เรื่องทรงกลมหกมิติที่ซับซ้อนของรีมันน์นั้นมีอยู่ใน arXiv
อันที่จริง ลู่โจวเองก็หวังว่านี่จะเป็นเรื่องจริง แต่ท้ายที่สุดแล้ว ทุกคนในสาขาคณิตศาสตร์ก็มักจะสงสัยอยู่เรื่อง
แต่นี่คือชายที่มีอายุเกือบเก้าสิบปี…
พูดตามตรง ลู่โจวเองก็ไม่ได้หวังมากนักหรอก
คณิตศาสตร์เป็นเหมือนเครื่องมือสำหรับคนรุ่นเยาว์เสียมากกว่า และเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ทั้งความจำและสติปัญญาของพวกเขาก็จะลดลงเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนั้น จึงมีนักคณิตศาสตร์สูงอายุเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายได้
แต่ทว่า มันก็ไม่มีอะไรสำคัญอีกแล้ว ตราบเท่าที่ชายชราคนนั้นยังมีความสุข…
…
ทั้งนี้ ข้อคาดการณ์ของรีมันน์เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก แต่ถึงอย่างไร มันก็ไม่ใช่ประเด็นหลักของลู่โจว
หลังจากตั้งค่าการแจ้งเตือนสำหรับการอัปเดตเรื่องปัญหาเอาไว้แล้ว ลู่โจวก็มุ่งความสนใจกลับไปที่ภารกิจฟิวชั่นไลท์
การออกแบบเครื่องสเตลลาเรเตอร์นั้นต้องใช้วิศวกรรมจำนวนมาก และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมก็ยังไม่สามารถใช้งานได้อีกด้วย หลังจากคำนึงถึงปัจจัยทั้งหมดแล้ว ลู่โจวจึงตัดสินใจเลือกวัสดุตัวนำยิ่งยวดเป็นปัจจัยในโครงการวิจัยต่อไป
อันที่จริง วัสดุที่เป็นตัวนำยิ่งยวดไม่ได้จัดการง่ายขนาดนั้น ถึงอย่างไร ลู่โจวก็ดูจะถนัดเรื่องนี้ที่สุด
ลู่โจวได้ไปพบคอนนี่ที่ห้องปฏิบัติการเคมี
เนื่องจากเคยทำงานร่วมกับศาสตราจารย์พาโบล เฮอร์ริโร ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา ลู่โจวก็ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์เอาไว้มากมาย
เมื่อลู่โจวเห็นคอนนี่ เขาก็ถามขึ้น “โครงการวัสดุตัวนำยวดยิ่งเป็นยังไงบ้าง?”
“ตอนนี้ยังบอกภาพรวมไม่ได้หรอกนะ แต่มันก็ยังปกติดี” คอนนี่ยื่นยูเอสบีให้ลู่โจวพร้อมกล่าวคำพูด “รายงานสรุปผลลัพธ์อยู่ในนี้แล้วนะคะ”
ลู่โจวรับยูเอสบีหยิบและพยักหน้า
“ขอบใจมาก”
ทันทีที่คอนนี่เห็นว่าลู่โจวจริงจังแค่ไหน เธอก็ถามขึ้นด้วยความตื่นเต้น “ ศาสตราจารย์ คุณกำลังวางแผนจะทำอะไรหรือเปล่า?”
ลู่โจวพลันตอบกลับ “ก็ใช่… มันหลายเหตุผลน่ะ แต่ตอนนี้ฉันกำลังสนใจเรื่องวัสดุตัวนำยวดยิ่งอยู่”
ดูเหมือนลู่โจวไม่อยากจะบอกเหตุผลที่แท้จริงกับคอนนี่
ลู่โจวบอกให้คอนนี่กลับไปทำงาน จากนั้นไม่นาน เขาก็นั่งอยู่หน้าโต๊ะทำงานและเสียบยูเอสบีเข้ากับคอมพิวเตอร์
ลู่โจวอ่านรายงานผลลัพธ์เสร็จภายในครึ่งชั่วโมงอย่างรวดเร็ว ตอนนี้เขาเข้าใจความคืบหน้าของโครงการวิจัยทั้งหมดแล้ว
โดยพื้นฐานแล้ว ห้องปฏิบัติการของศาสตราจารย์พาโบล เฮอร์ริโรมักจะมุ่งเน้นไปที่การค้นคว้าเรื่องทฤษฎี อย่างเช่น พลังงานเอนทัลปี ตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูง และผลึกเหลว
ในทางกลับกัน สถาบันวิจัยวัสดุเชิงคำนวณจินหลิงนั้นมุ่งเน้นไปที่การวิจัยโดยใช้การประยุกต์เป็นหลัก รูปแบบการทำงานของพวกเขาคือใช้การทดลองจำนวนมากเพื่อหาวิธีรักษาระดับความเข้มข้นของกราฟีนในวัสดุตัวนำยิ่งยวด
ทั้งนี้ ลู่โจวเองก็ต้องยอมรับว่าศาสตราจารย์พาโบล เฮอร์ริโรนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกราฟีนอย่างแท้จริง หลังจากได้รับทุนวิจัยมูลค่าสิบล้านเหรียญสหรัฐจากบริษัทสตาร์สกายเทคโนโลยี ความก้าวหน้าของการวิจัยก็เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
ด้วยความช่วยเหลือจากความก้าวหน้าทางทฤษฎี สถาบันวิจัยวัสดุเชิงคำนวณจินหลิงและห้องทดลองของศาสตราจารย์ซารอทเองก็ก็ได้สร้างผลลัพธ์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการที่น่าทึ่งออกมา
แต่ทว่า พวกเขายังห่างไกลจากผลลัพธ์สุดท้ายมากนัก
ลู่โจวมองดูภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และคิดอยู่สักพัก ทันใดนั้น เขาก็ตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่าต้องทำอะไรต่อไป
ลู่โจวเก่งในเรื่อวัสดุศาสตร์เชิงคำนวณและการใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่อค้นหารูปแบบเชิงวัสดุ
ด้วยเหตุนั้น สิ่งแรกที่ลู่โจวต้องทำคือสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เชื่อถือได้ขึ้นมา โดยใช้ข้อมูลตลอดทั้งปีที่รวบรวมได้จากห้องปฏิบัติการทั้งสามแห่ง
นอกจากนี้ เพื่อเร่งความคืบหน้าของโครงการนี้ ลู่โจวก็จำเป็นต้องมีผู้ช่วยอีกด้วย
และดูเหมือนว่า… ศาสตราจารย์ พอล เจ จิริกจะเป็นผู้ช่วยที่เหมาะที่สุดเลยล่ะ
………………………………………………..