Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 517 ฟิสิกส์พลาสมา
หลังจากใช้เวลาประมาณสามวัน เหล่านักวิจัยจากสถาบัน STAR STELLARATOR ก็ทำการเปรียบเทียบข้อมูลการทดลองได้อย่างเสร็จสมบูรณ์
ในขณะเดียวกันลู่โจวที่รับผิดชอบในเรื่องการสรุปข้อมูลก็ได้เขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นและส่งเอกสารกว่าสามสิบฉบับให้กับกองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียบร้อย
เมื่อเขาส่งเอกสารจนเสร็จ เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์ก็ดังขึ้น
ลู่โจวหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู เขาเห็นว่าคนที่โทรมาคือนักวิชาการผาน จากนั้น เขาก็กดปุ่มรับสาย
ทันทีที่นักวิชาการผานรับสาย ลู่โจวก็ได้ยินแต่เสียงหัวเราะดังออกมา
“นายทำได้แล้ว นายทำให้นักวิชาการโจวเสียหน้าได้แล้ว ป่านนี้เขาคงปวดหัวอยู่แน่เลย ฉันล่ะอยากจะถมน้ำลายลงพื้นเสียจริง”
เมื่อได้ยินเช่นนั้น ลู่โจวก็เอนตัวลงบนเก้าอี้ทำงานราวกับพูดอะไรไม่ถูก
แต่ถ้าบอกไปว่ามันเป็นเพราะความผิดพลาดก็คงไม่มีใครเชื่อ
จากนั้นนักวิชาการผานก็พลันพูดต่อด้วยน้ำเสียงจริงจัง “ฉันได้ยินมาว่านายตั้งเป้าหมายของการทดลองครั้งที่สองไว้ที่สามสิบนาที น่าตกใจไม่น้อยเลยนะ ไม่คิดว่านายจะทำได้ถึงขนาดนี้ พวกชาวเยอรมันคงไม่คาดคิดว่าเครื่อง WEGA ของตัวเองจะสามารถทำประโยชน์ได้ถึงขนาดนี้แน่นอน”
แม้ว่าจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นสองเท่า เพราะความยากง่ายนั้นมีไม่เท่ากันก็ตาม
มันคงจะไม่เวอร์เกินไปที่จะบอกว่านี่เป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียว เนื่องจากการวิจัยในด้านนิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมของพวกเขาเปิดโลกให้กว้างขึ้นมาก
“แล้วนายจะทำอะไรต่อไปล่ะ?”
เมื่อได้ยินเช่นนั้น ลู่โจวก็เผยยิ้มและบอกความตั้งใจของตน “ครั้งหน้าก็คงทำแบบนี้อีก”
นักวิชาการผานจึงทำท่าทีที่แปลกไปและตอบกลับด้วยน้ำเสียงที่ไม่น่าเชื่อทันที “จะทำการสาธิตการทดลองด้วยงั้นเหรอ?”
ลู่โจวพยักหน้าระหว่างที่ถือโทรศัพท์
“ใช่”
ทันทีที่ได้ยินคำพูดของลู่โจว นักวิชาการผานก็หายใจเข้าเฮือกใหญ่ เขารู้สึกตกตะลึงเล็กน้อย
ทั้งนี้เครื่องปฏิกรณ์แบบทดลองและเครื่องปฏิกรณ์เดโม ดูเหมือนจะคล้ายกันมาก แต่ความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
เครื่องแรกนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์ทดลองที่สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในการทดลองพลาสมาเท่านั้น แต่เครื่องที่สองนั้นเป็นอุปกรณ์เดโม ตั้งแต่การกักเก็บพลาสมาไปจนถึงปฏิกิริยาฟิวชันและการส่งออกพลังงานไฟฟ้า
ไม่น่าแปลกใจที่เครื่องปฏิกรณ์เดโม นี้จะกลายเป็นโครงการต้นแบบสำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมในประเทศจีนและทั่วโลกมาอย่างช้านาน
ทั้งสองเครื่องไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้
การทดลองของการวิจัยฟิวชันแบบควบคุมดำเนินการมาราวครึ่งศตวรรษแล้ว อีกทั้ง เครื่องปฏิกรณ์แบบทดลองก็ได้ปรากฏขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทว่าสถาบันพรินซ์ตันเองก็ยังไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องนี้เท่าไหร่
ทั้งนี้แผนการสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ เดโม จะเป็นไปตามตารางเวลาของสถาบันวิจัยเสมอ
จากนั้นนักวิชาการผานก็ถามขึ้นอย่างสงสัย “มันเร็วเกินไปรึเปล่าที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ เดโม?”
แม้ว่าการกักเก็บพลาสมาความหนาแน่นสูงเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงจะคุ้มค่ากับการเฉลิมฉลองได้ แต่ถ้าเทียบกับการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ เดโม มันก็จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปในทันที
อย่างน้อยเท่าที่ลู่โจวได้รับข้อมูลมา ก็กล่าวได้ว่ายังมีประเด็นสำคัญอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
ตอนนี้นักวิชาการผานคิดว่าลู่โจวอาจจะมีความกังวลอยู่บ้าง
เนื่องจากคำถามของนักวิชาการผานเป็นการทดสอบแค่น้ำจิ้มเท่านั้น
“ไม่เร็วไปหรอกครับ มีหลายสิ่งที่เราสามารถทำได้ในขณะที่กำลังค้นคว้าอยู่ เราไม่จำเป็นต้องรอให้ทุกอย่างพร้อม แล้วไม่ต้องพูดถึงแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดเลยด้วยซ้ำ เรื่องแผนควบคุมเราก็ได้ทำการแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งผนังชั้นแรกก็สามารถป้องกันการฉายรังสีได้อีก ที่เหลือก็ต้องปล่อยให้เวลาเป็นตัวตัดสิน ตราบใดที่เราทำตามเงื่อนไข ฉันเองก็มั่นใจมากว่าเราจะสามารถสร้างเครื่องปฏิกรณ์ เดโม ขึ้นมาได้อย่างแน่นอน”
ก่อนอื่นลู่โจวจะต้องหาวิธีการสร้างตัวติดตามพลาสมา ขดลวดสนามภายนอกและไดเวอร์เตอร์ระบายความร้อนหรือพวกวัสดุหุ้มผนังชั้นแรกขึ้นมาเสียก่อน ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปได้ยากก็เถอะ
ถึงอย่างไรแล้วเครื่องปฏิกรณ์ เดโม และแบบทดลองนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนในการผลิตหรือเรื่องอื่น
อีกทั้ง มันเป็นอะไรที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล
เมื่อคิดถึงเรื่องนี้ลู่โจวก็นั่งคิดอยู่ชั่วครู่
ดูเหมือนว่าเขาจะต้องเขียนจดหมายอีกครั้งเสียแล้ว
…
สำหรับคนอื่น การส่งบทความวารสารชั้นนำระดับโลกอย่างบทความธรรมชาติและวิทยาศาสตร์คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทว่ามันก็ไม่ได้ยากเกินไปสำหรับลู่โจว
แม้ว่าเขาจะไม่ได้นึกถึงเรื่องของรางวัลโนเบลหรือชื่อเสียงทางวิชาการรวมถึงความร่วมมือในอดีตกับกองบรรณาธิการของวิทยาศาสตร์ แต่น้ำหนักที่อยู่เบื้องหลังคำว่านิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมก็เพียงพอแล้วที่กระทรวงวิทยาศาสตร์จะเอาจริง
ลู่โจวไม่ได้มีปัญหาอะไรกับข้อมูลที่ได้รับ เนื่องจากบทความนี้ได้รับการตรวจสอบอย่างรวดเร็วและเผยแพร่เป็นที่เรียบร้อยแล้วในวารสารวิทยาศาสตร์ฉบับล่าสุด
ด้วยการตีพิมพ์บทความดังกล่าว เมื่อผู้คนได้รับรู้ถึงการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ เดโม ด้วยเครื่อง STAR ขึ้นมา ทั้งสมาคมฟิสิกส์พลาสมาจะต้องตกใจเป็นแน่
แล้วแนวคิดหนึ่งชั่วโมงคืออะไร?
ภายในหนึ่งปีการวิจัยเรื่องเครื่องโคคาแมกก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งการตีพิมพ์บทความนี้ ทำให้ผลการวิจัยของสถาบันวิจัยระดับชาติได้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะโดยตรง
แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อกักเก็บพลาสมา แต่นี่ก็เป็นเหมือนวิธีการแบบใหม่ ทั้งนี้แรงกระแทกที่จะต้องเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงก็ยังทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์ชิ้นนี้
นอกเหนือจากโลกวิชาการแล้ว ความสำเร็จของเครื่อง STAR ยังกระตุ้นให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ซึ่งนำมาสู่การโต้เถียงกันในโลกอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
บางคนก็ชอบและคิดว่านี่คือก้าวที่ยิ่งใหญ่สู่อนาคต
แต่บางคนก็กังวลว่ามนุษย์กำลังจะก้าวไปบนหนทางแห่งความตาย
แต่สำหรับบางคน พวกเขาก็ไม่ได้สนใจอะไร ถึงกระนั้ ข่าวเหล่านี้ก็ถูกปล่อยออกมาแล้วบ่อยครั้ง เมื่อยี่สิบปีก่อนเคยมีคนกล่าวว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานฟิวชันแบบควบคุมนั้นสามารถทำได้ แต่ทว่าไม่มีใครที่จะรู้อะไรแบบนั้นได้หรอก
ไม่ว่าอย่างไรแล้วสำหรับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญนี้ก็กลายเป็นประเด็นที่นำมาถูกถกเถียงกันในระดับการเมืองและมีผู้ที่ให้ความสนใจมากที่สุด
สำหรับการออกอากาศข่าวของสำนักข่าว CCTV ก็ได้เลือกใช้ประเด็นพิเศษเพื่อรายงานเรื่องนี้อย่างครอบคลุม
“ไม่กี่วันที่ผ่านมา สถาบัน STAR STELLARATOR ของจินหลิงได้ตีพิมพ์บทความวารสารวิทยาศาสตร์ออกมา ซึ่งมันเป็นการเปิดเผยรายละเอียดของการทดลองพลังฟิวชันแบบควบคุมล่าสุดของพวกเขา”
“ในการทดลอง ทีมวิจัยนำโดยศาสตราจารย์เหรินโจว นักวิชาการชาวจีนที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบล เขาได้ประสบความสำเร็จในการกักเก็บพลาสมาเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง”
“ตามความคิดเห็นของคนในวงการ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้คาดว่าจะเป็นการเปิดโลกใหม่สำหรับการศึกษานิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมไปเลยก็ว่าได้…”
ในข่าวที่เป็นสื่อกลางก็ได้อ้างถึงการให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ
ที่ปรึกษาบริษัทไตรอัลฟ่าทั้งสามคนและศาสตราจารย์เบอร์ตัน ริกเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพลันนั่งอยู่หน้ากล้อง
เมื่อนักข่าวซีบีเอสถามถึงมุมมองเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่อง STELLARATOR พวกเขาก็เผยความมั่นใจและตอบกลับ
“ตอนที่เพื่อนร่วมงานของผมบอกว่ามีคนสามารถกักเก็บพลาสมาโดยใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง ผมเองรู้สึกขบขัน แต่พอได้อ่านบทความในวารสารวิทยาศาสตร์แล้ว ผมเองก็ตกใจไม่น้อยเลย”
“แม้แต่ตอนนี้ ในหัวของผมก็ยังเต็มไปด้วยความประหลาดใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผมรู้ว่าอุปกรณ์นี้ได้รับการแก้ไขโดยการใช้เครื่อง WEGA ผมก็ยิ่งตกใจมากไปกว่าเดิม”
“แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เครื่อง WEGA จะทำได้ขนาดนี้ แม้ว่าจะอัพเกรดเวนเดลสไตน์แล้ว มันก็ยังคงเป็นเรื่องยากอยู่ดี”
“ผมเลยคิดว่าตอนนี้ประเทศจีนเองก็นำหน้าในเรื่องนิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมไปแล้ว แล้วถ้าหากปัญหาของวัสดุตัวนำยิ่งยวดและแผนการควบคุมพลาสมาได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ พวกเขาก็จะเหลือเพียงแค่ปัญหาเดียวที่จะต้องจัดการ ซึ่งนั่นก็คือการแผ่รังสีของพลาสมา ดูจากผลกระทบต่อความเสียหายของผนังชั้นแรกแล้ว ก็อาจจะใช้เวลาไม่นานนักในการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันให้เสร็จสมบูรณ์ ยังไงก็เถอะ การแปลงพลังงานความร้อนเป็นไฟฟ้าก็ไม่ใช่เรื่องยากมากเหมือนกัน”
ทันทีที่ได้ยินเช่นนั้น ศาสตราจารย์เบอร์ตัน ริกเตอร์ก็เผยท่าทีสับสนออกมา
“เราเป็นผู้นำในการวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมมาได้ครึ่งศตวรรษแล้ว ความเสี่ยงของมันนั้นมีมาก ฉันคิดว่ากระทรวงพลังงานควรใส่ใจมันให้มากกว่านี้”
ทั้งนี้ความสำเร็จของเครื่อง STAR นั้นได้ใจชาวจีนไปเป็นอันดับต้น ๆ แล้ว
ในขณะเดียวกัน เมื่อบทความวารสารวิทยาศาสตร์ถูกตีพิมพ์ สื่อทั่วโลกก็สนใจกับคำว่านิวเคลียร์ฟิวชันแบบควบคุมไม่น้อย จากนั้นจดหมายที่ลู่โจวเขียนก็ถูกส่งไปถึงมือของผู้อาวุโสจนได้
มันเป็นจดหมายที่จะทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องรู้สึกตกใจไม่น้อยแน่นอน…
………………………………………………