Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ - ตอนที่ 836 เขาต้องมาอย่างแน่นอน!
- Home
- Scholar’s Advanced Technological System ระบบปั้นอัจฉริยะ
- ตอนที่ 836 เขาต้องมาอย่างแน่นอน!
ณ ห้องในห้องสมุดมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
เวร่าผลักประตูและเดินเข้าไป เธอเดินไปที่โต๊ะอย่างร่าเริงและพูดติดอ่าง แต่ในที่สุดเธอก็พูดประโยคที่สมบูรณ์ออกมาได้
“เขากำลังค้นคว้าสมมติฐานของรีมันน์อยู่!”
โมลิน่าที่นั่งอยู่ที่โต๊ะรู้ทันทีว่าสีหน้าของเวร่าเป็นอย่างไรโดยไม่ต้องเงยหน้าขึ้นมอง
“วิทยานิพนธ์บน arXiv น่ะเหรอ? ฉันรู้ แต่ว่ามันน่าประหลาดใจอะไรนัก…”
โมลิน่ารู้สึกเร่งรีบมากขึ้นนับตั้งแต่เปิดตัววิทยานิพนธ์
ลู่โจวไม่เคยพ่ายแพ้ต่อสมการใดๆ มาก่อน แม้แต่ปัญหารางวัลสหัสวรรษ เช่น สมการเนเวียร์–สโตกส์ และสมการหยาง-มิลส์ ก็ยังทำอะไรเขาไม่ได้
และเนื่องจากลู่โจวกลายเป็นผู้นำทางวิชาการ เขาจึงไม่ค่อยมีส่วนร่วมในโลกคณิตศาสตร์เท่าไร เขาไม่เคยไปการประชุมใดๆ แต่ชุมชนคณิตศาสตร์กลับพูดถึงเขาตลอดทุกครั้ง
จนถึงทุกวันนี้เรื่องราวเกี่ยวกับเขาก็ยังกระจายไปทั่ววิทยาเขตพรินซ์ตัน
และไม่ต้องสงสัยอะไรเลย ที่ลู่โจวคือคู่ต่อสู้ที่ทรงพลังมากๆ
เธอได้โจมตีการคาดเดานี้มาหลายปีแล้ว ถ้าลู่โจวเป็นคนเอามงกุฎไปจากเธอ เธอคงจะสติแตกแน่ๆ…
“โมลิน่า…”
โมลิน่ามองเวร่าและกะพริบตาขณะที่เธอถามว่า “ว่าไง?”
เวร่าฝืนยิ้มและถามว่า “เธอคิดว่างานวิจัยของเขาถึงขั้นไหนแล้ว”
โมลิน่าจ้องไปที่แก้มขาวที่แดงก่ำของเวร่าและพูดว่า “ฉันจะไปรู้ได้ไง? ทำไมไม่ถามเขาเอาล่ะ เธอก็มีอีเมลของเขานี่”
“ฉัน…” เวร่าเล่นนิ้วของเธอเอง เธอละสายตาจากโมลิน่าและพูดว่า “… ฉันยังไม่ดีพอสำหรับเขาหรอก”
ฉันทำไม่ได้!
ฉันทนไม่ไหวแล้ว!
โมลิน่ายืนขึ้นและจับไหล่เวร่าเอาไว้แน่น
“ฟังนะ คุณเวร่า พุลยุย ฉันรู้ว่าเขาเป็นคนรักในฝันของเธอ แต่จงตระหนักว่าเขากำลังเป็นศัตรูของเรา! เธอไม่สามารถ…”
ก่อนที่โมลิน่าจะพูดจบ เวร่าก็ขัดจังหวะเธอเอาไว้ก่อน
“เขาไม่ใช่ศัตรูของฉันสักหน่อย!”
ดวงตาของเวร่าเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น
“… โอเค ฉันใช้คำผิดเอง” โมลิน่าครุ่นคิดอยู่ครู่หนึ่งก่อนจะพูดใหม่ว่า “เธอไม่ได้สัญญากับเขาเกี่ยวกับเหรียญฟิลด์หรอกเหรอ?”
“!”
จู่ๆ เวร่าก็เริ่มมีอาการประหม่าขึ้น
โมลิน่าสังเกตและยิ้มเยาะ จากนั้นเธอตบไหล่หญิงสาวเบาๆ
“ทำให้ดีที่สุดล่ะ หากเราพิสูจน์สมมติฐานของรีมันน์ได้เราจะได้รับรางวัลเหรียญฟิลด์สิบเหรียญแน่นอน”
เวร่ากลั้นหายใจและกำหมัดแน่นขณะที่เธอพึมพำกับตัวเอง “ถ้าฉันพิสูจน์สมมติฐานของรีมันน์ได้ล่ะก็… เขาจะต้องมองมาที่ฉันแน่ๆ”
โมลิน่ามองด้วยสายตาให้กำลังใจและพูดว่า “ใช่แล้ว ไม่ใช่แค่เขาเท่านั้น คนทั้งโลกจะต้องรู้จักเธออย่างแน่นอน”
ใบหน้าของเวร่าเปลี่ยนเป็นสีแดงอีกครั้งเมื่อเธอมองลงไปที่เท้าตัวเองและยิ้ม
“ไม่ ไม่หรอก ขอบคุณ…
“แต่แค่เขาคนเดียวก็พอแล้ว”
…
ไม่มีข่าวที่น่าตื่นเต้นมากมายนักในโลกคณิตศาสตร์ ดังนั้นเรื่องราวของลู่โจวที่เริ่มค้นคว้าเกี่ยวกับสมมติฐานของรีมันน์จึงถือเป็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นมากๆ ทุกคนกำลังพูดถึงภารกิจของศาสตราจารย์ลู่ในการพิสูจน์สมมติฐานรีมันน์ โดยต่างพากันพูดถึงตั้งแต่ฟอรัมออนไลน์ไปจนถึงวิทยาเขตของพรินซ์ตัน ลู่โจวกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ไปในทันที
ไม่ใช่แค่เหล่านักเรียนเท่านั้นที่พูดถึงเขา เพราะเหล่าอาจารย์ก็ต่างพากันพูดถึงเช่นกัน
เรื่องใหญ่แบบนี้คงหนีก็คงหนีไม่พ้นศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ของพรินซ์ตัน
ขณะที่เวร่ากำลังคุยกับโมลิน่า ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนก็ได้มาที่ห้องทำงานของศาสตราจารย์ เดอลีงย์พร้อมกับพิมพ์วิทยานิพนธ์ฉบับเดียวกัน
และเมื่อเขามาถึงสำนักงานของเดอลีงย์ เขาก็ไปนั่งที่โต๊ะทำงานตัวเอง
เมื่อเดอลีงย์ได้ยินเสียงฝีเท้า เขาจึงเงยหน้าขึ้นและหรี่ตามองวิทยานิพนธ์ในมือของศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน
“ผมเดาว่าคุณมีวิทยานิพนธ์ arXiv อยู่ในมือคุณสินะ”
“และดูเหมือนว่าคุณจะอ่านมันเรียบร้อยแล้วเช่นกัน…” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนโยนวิทยานิพนธ์ทิ้งไปและพูดว่า “ผมไม่คิดว่าคุณจะรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีนะ”
“ผมค่อนข้างจะรักษาเวลาได้ดี และผมใช้อินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ยี่สิบปีที่แล้วแล้ว…” ศาสตราจารย์ เดอลีงย์ดูวิทยานิพนธ์แล้วพูดว่า “คุณมาที่นี่เพราะเรื่องแค่นี้เหรอ?”
“คุณหมายความว่าอย่างไรสำหรับเรื่องแค่นี้?” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนมองอย่างไม่เชื่อและกล่าวว่า “คุณไม่เคยได้ยินตำนานนั้นหรือไง? บุคคลที่สามารถแก้สมมติฐานของรีมันน์ได้จะกลายเป็นอมตะ ไม่ใช่แค่ในความหมายที่เป็นนามธรรม แต่มันเป็นจริงแล้ว”
ตำนานนี้มีมาช้านานแล้วประมาณศตวรรษที่ 19 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสฮาดามัส และนักคณิตศาสตร์ชาวเบลเยียมพาวซินมีความก้าวหน้าอย่างมากสำหรับครั้งแรกในสมมติฐานของรีมันน์ พวกเขามีชีวิตอยู่ถึง 98 และ 96 ปีตามลำดับ
การมีชีวิตอยู่จนเกือบร้อยปีในตอนนั้นช่างเป็นเรื่องที่น่าทึ่งเอามากๆ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานที่บุคคลที่พิสูจน์สมมติฐานของรีมันน์จะมีชีวิตอยู่ตลอดไป
แน่นอนว่านี่เป็นเพียงเรื่องตลก แต่เรื่องตลกนี้มีมาเป็นเวลากว่าศตวรรษแล้ว
เดอลีงย์ถอนหายใจและพูด
“… ตำนานนั้นมีอายุมากกว่าหนึ่งศตวรรษ ทฤษฎีบทของบอร์และแลนดามีผลมากกว่าทฤษฎีของฮาดาร์มาดมาก ถ้าผมจำไม่ผิด พวกเขาทั้งคู่เสียชีวิตในวัยหกสิบเศษๆ”
“โอเค แสดงว่าพระเจ้าจะไม่ดูแลทุกคนเหมือนกันสินะ” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนยิ้มและยักไหล่ จากนั้นเขาก็ถามว่า “นอกจากเรื่องตำนานแล้วคุณไม่คิดว่าวิทยานิพนธ์ของเขาน่าสนใจมากเลยเหรอ?”
ศาสตราจารย์เดอลีงย์ “ก่อนที่เขาจะเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อพิสูจน์อย่างเป็นทางการ ผมจะงดเว้นจากการแสดงความคิดเห็นไปก่อน”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนยิ้มและกล่าวว่า “ผมไม่ได้ขอให้คุณแสดงความคิดเห็น ผมแค่สงสัยเกี่ยวกับประเด็นที่เขาตั้งไว้เกี่ยวกับการแก้ฟังก์ชันซีตารีมันน์โดยใช้ฟังก์ชัน π(x) ก็เท่านั้น ผมได้ไปค้นคว้ามาบ้างแล้วและไม่พบเบาะแสที่น่าสนใจเลย… ผมสงสัยว่าคุณคิดว่าเขาจะพิสูจน์สมการนี้ได้อย่างไร?”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน “คุณคิดว่าเขาจะทำอะไรล่ะ?”
ศาสตราจารย์เดอลีงย์เหลือบมองเขาแล้วพูดว่า “คุณไม่ได้ทำงานกับสมการของเนเวียร์–สโตกส์กับเขาหรอกหรือไง? คุณยังรู้จักเขาไม่ดีอีกเหรอ?”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนกล่าวว่า “อันที่จริง ผมว่าผมยังไม่รู้จักเขาดีพอ เพราะเขาทำงานคนเดียว”
หลังจากนั้น ศาสตราจารย์เดอลีงย์ก็คร่ำครวญ
เขาหวนคิดถึงอดีตและกล่าวต่อว่า “คุณไม่สามารถพิสูจน์สมมติฐานของรีมันน์ได้ด้วยความคิดเพียงอย่างเดียวหรอกนะ ผมคิดวิธีแก้ปัญหาได้เป็นโหลๆ แต่ไม่มีใครให้ความหวังกับผมเลย ฟังก์ชัน π(x) นั้นค่อนข้างใหม่แต่ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยสิ้นเชิง และที่สำคัญมีคนเคยลองใช้มาก่อนแล้ว”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนพยักหน้า
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาได้ยินแนวคิดในการใช้ π(x) เพื่อแก้ฟังก์ชันซีตารีมันน์ เขาเคยได้ยินแม้กระทั่งคนพูดถึงเรื่องนี้ในร้านกาแฟ
“เขาเป็นนักวิชาการที่เก่งทั้งการใช้เครื่องมือและการสร้างเครื่องมือ ไม่ว่าเขาจะใช้ฟังก์ชัน π(x) สำเร็จหรือไม่ ผมมั่นใจว่าเขาจะสามารถค้นหาเครื่องมือที่ประสบความสำเร็จได้แน่ๆ ”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมน “เหมือนกับวิธีการจัดโครงสร้างกลุ่มน่ะเหรอ?”
“ก็ไม่เชิง” ศาสตราจารย์เดอลีงย์ยิ้มและกล่าวว่า “สมการนี้สร้างปัญหาให้กับโลกคณิตศาสตร์มานานกว่าศตวรรษครึ่งแล้ว เขาอาจจะสร้างเครื่องมือใหม่ที่จะช่วยให้เราเข้าใจฟังก์ชันซีตารีมันน์ก็ได้”
เขาหยุดครู่หนึ่งแล้วพูดต่อ “ผมจะตั้งตารอการประชุมนักคณิตศาสตร์นานาชาติครั้งต่อไป”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนกล่าวว่า “และเขาอาจจะไม่มา”
เดอลีงย์ส่ายหัวของเขา
“เชื่อผมเถอะ เขาต้องมาอย่างแน่นอน”
…………………………